Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42748
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิม ชัยวัชราภรณ์en_US
dc.contributor.advisorประวิตร เจนวรรธนะกุลen_US
dc.contributor.authorก.รวีวุฒิ ระงับเหตุen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:20:55Z
dc.date.available2015-06-24T06:20:55Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42748
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้คือการพัฒนาระบบการวิเคราะห์สมรรถนะ, การหาตัวชี้วัดสมรรถนะ และการทำนายผลการแข่งขันในชนิดกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดประเภททีมชาย โดยทำการเก็บข้อมูลจากการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40 ขอนแก่นเกมส์ พ.ศ. 2555 ทั้งหมด 38 แมทช์แข่งขัน 176 เซท 6,308 คะแนน แบ่งเป็นการเสิร์ฟ 8,541 ข้อมูล การรับเสิร์ฟ 6,196 ข้อมูล การตั้ง 7,668 ข้อมูล การรุก 9,580 ข้อมูล การรับตบ 5,988 ข้อมูล การสกัดกั้น 5,421 ข้อมูล และการทำแต้ม 6,231 ข้อมูล พบว่าการพัฒนาระบบการวิเคราะห์สมรรถนะโดยใช้โปรแกรม FocusX2 สามารถนำมาใช้วิเคราะห์สมรรถนะในด้านการได้แต้มและการเสียแต้มจากการแข่งขัน การเสิร์ฟ การรับเสิร์ฟ การรุก การตั้ง การงัดบอล และการสกัดกั้นในชนิดกีฬาวอลเลย์บอลได้เป็นอย่างดี จากการวิเคราะห์สมรรถนะพบว่าค่าเฉลี่ยจากการรุกทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 23.70 ครั้งต่อเซท การตั้งมีค่าเท่ากับ 21.72 ครั้งต่อเซท การเสิร์ฟมีค่าเท่ากับ 17.78 ครั้งต่อเซท การรับเสิร์ฟมีค่าเท่ากับ 17.60 ครั้งต่อเซท การสกัดกั้นมีค่าเท่ากับ 16.99 ครั้งต่อเซท และการงัดบอลมีค่าเท่ากับ 15.39 ครั้งต่อเซท จาการวิเคราะห์สมรรถนะพบว่าตัวชี้วัดสมรรถนะที่สำคัญต่อการแข่งขันได้แก่ ตัวชี้วัดด้านการได้แต้มคือ การรุกในรูปแบบต่าง ๆ ร้อยละ 58.12 ตัวชี้วัดด้านการเสียแต้มคือ การเสียแต้มจากการสกัดกั้นร้อยละ 55.90 ตัวชี้วัดด้านวิธีการรุกคือ การรุกโดยการกระโดดตบร้อยละ 43.17 ตัวชี้วัดด้านผลของการรุกคือ รุกแล้วได้แต้มร้อยละ 38.65 ตัวชี้วัดด้านวิธีการเสิร์ฟคือ การเสิร์ฟแบบลอยนิ่งร้อยละ 84.76 ตัวชี้วัดด้านผลการเสิร์ฟคือ เสิร์ฟแล้วรับง่ายร้อยละ 73.98 ตัวชี้วัดด้านผลการสกัดกั้นคือ บอลผ่านการสกัดกั้นแล้วเสียแต้มร้อยละ 41.36 ตัวชี้วัดด้านผลการรับเสิร์ฟ คือรับเสิร์ฟดีเยี่ยมร้อยละ 73.98 ตัวชี้วัดด้านผลการงัดบอลคือ งัดบอลดีเยี่ยมร้อยละ 29.53 ตัวชี้วัดด้านผลการตั้งบอลคือ ตั้งบอลดี่เยี่ยมร้อยละ 78.03 และในการทำนายผลการแข่งขันด้วยตัวชี้วัดที่ได้จากการวิเคราะห์สมรรถนะโดยโปรแกรม Focus X2 นั้น สามารถทำนายผลการแข่งขันได้ตรงกับผลการแข่งขันจริงร้อยละ 92.86 จาการทำนายผลแข่งขันทั้งหมด 28 แมทช์ ทำนายถูกต้อง 26 แมทช์แข่งขันซึ่งผู้วิจัยได้ทำการหาค่าสัมประสิทธิ์การทำนายในแต่ละคุณสมบัติสมรรถนะเพื่อหาค่าการทำนายที่ดี่ที่สุด ในการวิเคราะห์คุณสมบัติสมรรถนะโดยใช้ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะทั้งหมดเป็นเกณฑ์และใช้ค่าเฉลี่ยสมรรถนะของทีมมาเป็นตัวเปรียบเทียบ จึงสามารถคำนวณ วิเคราะห์ และทำนายผลการแข่งขันในรายการแข่งขันนี้ได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop a system for analyzing sports performance, determining performance indicators, and predicting competition results of male beach volleyball games by collecting information from video recordings of final sixteen teams participating beach volleyball competition during the 40th Thai National Games in Khon Kaen province, Thailand, a total of 38 matches, 176 sets, and 6,308 scores from 8,541 serving data, 6,196 serving reception data, 7,668 setting data, 9,580 attacking data, 5,988 digging data, 5,421 blocking data, and 6,231 scoring data. It was found that development of sports performance analysis to analyze winning and losing points during competition from serving, serving reception, attacking, setting, digging, and blocking in beach volley games can be performed well using Focus X2 software. From analysis, the average attacking was 23.70 times per set, average setting was 21.72 times per set, average serving was 17.78 times per set, average serving reception was 17.60 times per set, average blocking was 16.99 times per set and average digging was 15.39 times per set. It was found from performance analysis that key performance indicators were winning point from attack indicator 58.12%, losing point from blocking indicator 55.90%, attacking by spiking indicator 43.17%, winning point from attacking indicator 38.65%, float serve indicator 84.76%, easy to receive serving indicator 73.98%, excellent digging indicator 29.53%, excellent setting indicator 78.03%, and competition results using performance indicators derived from using Focus X2 software could be predicted with 92.86% accuracy from 26 out of 28 matches. The researcher has visual basic predictive values in each performance indicator to assess the best prediction using the average of all performance indicators compared to team averages for analysis and predictive analytics.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.224-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวอลเลย์บอล
dc.subjectการแข่งขันกีฬา
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.subjectVolleyball
dc.subjectSports tournaments
dc.titleการพัฒนาระบบการวิเคราะห์สมรรถนะในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด สำหรับนักกีฬาชายen_US
dc.title.alternativeA DEVELOPMENT OF PERFORMANCE ANALYSIS SYSTEM FOR MALE BEACH VOLLEYBALL PLAYERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorlerm1951@gmail.comen_US
dc.email.advisorprawit.j@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.224-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5178950639.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.