Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42751
Title: พระเอกและผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทย: การวิเคราะห์ลักษณะการผสมผสานทางวัฒนธรรม
Other Titles: HEROES AND VILLAINS IN THAI ACTION ADVENTURE FILMS: AN ANALYSIS OF CULTURAL HYBRIDIZATION
Authors: กฤตยา ณ หนองคาย
Advisors: ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: spr1141@hotmail.com
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ตัวละครและลักษณะนิสัยในภาพยนตร์
ตัวโกงในภาพยนตร์
ภาพยนตร์ -- แง่สังคม
Characters and characteristics in motion pictures
Villains in motion pictures
Motion pictures -- Social aspects
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุเพื่อศึกษาลักษณะตัวละครพระเอกและผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทยและลักษณะการผสมผสานวัฒนธรรมที่ปรากฏผ่านลักษณะตัวละครพระเอกและผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทยตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึงพ.ศ. 2553 ผู้วิจัยรวบรวมภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยจำนวน 45 เรื่อง 88 สำนวน การศึกษาลักษณะตัวละครพระเอกและผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทย ผู้วิจัยได้ประยุกต์แนวคิดเรื่องแบบเรื่องมาวิเคราะห์เนื้อเรื่องและลักษณะตัวละคร ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทยจัดแบบเรื่องได้ 4 แบบเรื่อง คือ 1) แบบเรื่องวีรบุรุษนอกกฎหมาย 2) แบบเรื่องสุภาพบุรุษนักสู้ชีวิต 3) แบบเรื่องวีรบุรุษปลอมตัวและวีรบุรุษปิดบังใบหน้า 4) แบบเรื่องวีรบุรุษจอมเวทย์ การศึกษาแบบเรื่องทำให้พบลักษณะตัวละครพระเอกและผู้ร้าย ทั้งนี้ ผู้วิจัยจำแนกลักษณะพระเอกได้ 5 กลุ่ม 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) พระเอกแบบนักสู้ภูธร มี 2 รูปแบบ คือ พระเอกสุภาพบุรุษจอมโจรและพระเอกนักสู้ยอดมวยไทย 2) พระเอกแบบข้าราชการผดุงความยุติธรรม 3) พระเอกแบบจอมเวทย์ 4) พระเอกแบบยอดสายลับหรือแบบวีรบุรุษคาดหน้ากาก และ 5) พระเอกแบบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พระเอกที่เป็นแบบกลุ่มและพระเอกชาวต่างชาติ ส่วนลักษณะผู้ร้ายมี 4 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้ร้ายแบบจอมโจรหรือเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น 2) ผู้ร้ายแบบข้าราชการหรือนักการเมืองฉ้อฉล 3) ผู้ร้ายแบบลุ่มผู้ก่อการร้าย องค์กรลับ อาชญากรหรือทหารต่างชาติ และ 4) ผู้ร้ายแบบจอมขมังเวทย์และสัตว์ประหลาด สัตว์ร้ายแนวเหนือจริง จากการวิเคราะห์ลักษณะการผสมผสานวัฒนธรรม พบว่าการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมต่างชาติมี 3 ลักษณะ คือ1) ผ่านรูปลักษณ์และการแต่งกาย 2) ผ่านพฤติกรรมและบทบาทของตัวละครและ 3) ผ่านความสามารถและคุณสมบัติพิเศษ ทั้งนี้มีกลวิธีการผสมผสานวัฒนรรม 4 กลวิธีคือ 1) รับลักษณะตัวละครจากต่างประเทศมาส่วนใหญ่ 2) รับลักษณะตัวละครจากต่างประเทศบางส่วนและเพิ่มลักษณะตัวละครแบบไทย 3) รับแนวคิดจากต่างประเทศแต่สร้างตัวละครแบบไทย และ 4) ปรับตัวละครแบบไทยให้มีลักษณะสากลเพื่อนำเสนอสู่เวทีต่างประเทศ อนึ่งปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมอยู่เบื้องหลังกระบวนการผสมผสานวัฒนธรรมมี 3 ปัจจัยสำคัญ คือ 1) อิทธิพลของอเมริกานุวัตรและสภาพสังคมวัฒนธรรมไทยในยุคสมัยที่มีการสร้างภาพยนตร์ 2) กระบวนการโลกาภิวัตน์ และ 3) ภาพยนตร์ในฐานะวัฒนธรรมประชานิยม กระบวนการผสมผสานวัฒนธรรมทำให้เห็นลักษณะเฉพาะของตัวละครพระเอก ผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทยและความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทยในยุคสมัยที่มีการสร้างภาพยนตร์นั้นๆ นอกจากนี้ทำให้เข้าใจภูมิปัญญาในการปรับประยุกต์วัฒนธรรมต่างชาติมาใช้ในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทยที่สัมพันธ์กับการสร้างภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทย
Other Abstract: This dissertation aims at examining the characteristics, 88 versions in total, of and the cultural hybridization in hero and villain characters in 45 Thai action adventure films produced during 1957-2010. The study reveals that the characteristics of heroes and villains in Thai action adventure films can be categorized into four patterns based on the supposition of tale types which are: 1) tale of outlaw heroes, 2) tale of life-struggling gentleman heroes, 3) tale of disguised heroes and tale of masked heroes, and 4) tale of magician heroes. Also it is found that there are five groups and six types of heroes. They comprise of (1) local fighters categorized into 2 subgroups: gentleman thieves and top Thai boxing fighters; (2) civil servants who protect the justice; (3) heroes with great magic power; (4) top detective agents or masked heroes; and (5) miscellaneous heroes such as team heroes and foreign heroes. Moreover, four groups of villains are found. They consist of (1) thieves or local mafias; (2) corrupt civil servants or corrupt politicians; (3) terrorists, secret agencies, criminals or foreign soldiers; and (4) the villains with great magic power, and monsters or extraordinary beasts. In addition, three kinds of the cultural hybridization between Thai and foreign cultures are revealed. They are presented through the heroes’ and villains’ (1) appearance and attire; (2) behavior and roles; and (3) special capacity and quality. These are presented through 4 techniques of cultural hybridization. They are (1) the mainly imitation of foreign characters’ characteristics; (2) the partly imitation of foreign characters’ characteristics and the mixture with Thai characters’ characteristics; (3) the insertion of foreign concepts in Thai characters; (4) the universalization of Thai characters for international market aim. Besides, the influence of socio-cultural factors on the cultural hybridization is searched further. Three significant factors are disclosed. They are the influence of (1) Americanization and Thai socio-cultural contexts during which the film data had been produced; (2) Globalization; and (3) films as popular culture. In conclusion, the study reveals that the cultural hybridization discloses the specificity of heroes and villains in Thai action adventure films and its relation to Thai socio-cultural contexts during which the films had been produced. The process in question also makes us clearly understand the adaptation of foreign culture for the production of Thai action adventure films in Thai socio-cultural context.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42751
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.227
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.227
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5180501722.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.