Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉันทนา หวันแก้วen_US
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ ยี่ทองen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:00Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:00Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42755
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการแสวงหาคำอธิบายเกี่ยวกับดุลยภาพความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหาร ภายใต้บริบททางการเมืองของไทยที่ไม่อาจนำทหารออกจากการเมืองได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหารในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย เพื่อประเมินบทบาทและนโยบายของรัฐบาลพลเรือนในการสร้างดุลยภาพความ สัมพันธ์กับทหารภายใต้บริบทและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และเพื่อวิเคราะห์เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหารในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย การศึกษานี้อาศัยการผสมผสานแนวคิดเรื่องลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหาร และแนวคิดเรื่องการกำกับกองทัพภายใต้กรอบประชาธิปไตย โดยมีตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ บริบทด้านกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงที่แวดล้อมความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหาร การบริหารจัดการงบประมาณ การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ การปฏิรูปกองทัพ และการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร การไม่นำทหารเข้ามาในพื้นที่การเมือง และการควบคุมทหารโดยรัฐสภาและภาคประชาชน การศึกษานี้ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2554 โดยเน้นหนัก 3 รัฐบาล ได้แก่ รัฐบาลชวน หลีกภัย2 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหารในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีทิศทางที่แน่นอน มีความสัมพันธ์หลายลักษณะปะปนกันอยู่ในแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่ความสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยการแบ่งแยกบทบาท มาสู่การแข่งขันทางอำนาจแบบชนะกินรวบ และการมีรัฐบาลพลเรือนในการอุปถัมภ์ของกองทัพ เมื่อวิเคราะห์ลงไปถึงประเด็นสำคัญเชิงนโยบายพอสรุปได้ว่า รัฐบาลพลเรือนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการเมืองของกองทัพ การแต่งตั้งฝ่ายพลเรือนดำรงตำแหน่งสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายความมั่นคง แต่ยังคงมีบางประเด็นที่รัฐบาลกับกองทัพต้องเจรจาต่อรองและทำความตกลงร่วมกัน เช่น การอนุมัติและจัดสรรงบประมาณรวมถึงงบราชการลับระหว่างปีงบประมาณ การปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหม การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร การจัดการปัญหาความมั่นคงภายใน และการทำให้กองทัพถูกตรวจสอบจากสังคมได้ เป็นต้น ที่สำคัญไปกว่านั้น กองทัพยังคงรักษาอำนาจในการกำหนดการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของฝ่ายพลเรือนได้อยู่อย่างมั่นคงในสถานการณ์ที่มีวิกฤตการเมือง เงื่อนไขที่มีส่วนสร้างดุลยภาพความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือน-ทหาร อันจะนำไปสู่ความมีเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยได้นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของรัฐบาลพลเรือนไม่น้อย เงื่อนไขทั่วไปที่สำคัญ ได้แก่ การที่รัฐบาลสามารถกำกับกองทัพภายใต้กรอบประชาธิปไตย มีความชอบธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ไม่มีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นรวมถึงการกระทำผิดอย่างรุนแรง สามารถรักษาไว้ซึ่งความเสมอภาคกันทางกฎหมาย ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนเงื่อนไขที่มีลักษณะ เฉพาะของสังคมไทยคือการที่รัฐบาลต้องส่งเสริมเสถียรภาพความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis explains the balance of power in civil-military relations under Thailand’s political context in which the military cannot be entirely excluded from the political arena. The thesis objectives are: to describe the development and characteristics of civil-military relations in the context of democratic development; to assess the roles and policies of civilian governments in seeking a balance of power with the military; and to identify conditions under which a balance of power emerges for democratic development. This study develops a conceptual framework of civil-military relations, in which there is civilian as well as democratic control of the armed forces, to thus identify the most important variables for data collection and analyses. These include:the contextual environment; decision-making in the administration of the annual budget; purchase and procurement of arms; military reform; personnel recruitment and transfer; politicization of the military; parliamentary oversight; and the role of civil society. The civilian governments studied cover those during the period 1992 – 2011, with a focus on three governments, namely: Chuan Leekpai 2; Thaksin Shinawatra; and Abhisit Vejjajiva. The study finds that over the past 20 years the pathway of civil-military relations has not followed one definite direction. There have been multiple characteristics of this relationship from coexistence to zero-sum game as well as the civilian government as the military’s client. Taking policy matters into consideration, it is found that civilian oversight has been extended to framing the political resources of the military, including the appointment of high ranking personnel for the national security office and developing national security policy. However, there are certain areas where negotiations take place between the government and the military, namely: the allocation and administration of budget for covert security affairs; personnel transfer; internal security matters; and military accountability. Above all, the military still maintains the power to interfere with and seize power from civilian governments in times of political crisis. The conditions of the balance of power between the military and the government for democratic stability rest on the characteristics of the civilian government to a certain extent. General important conditions expected of upon civilian governments are democratic control of the armed forces, legitimacy through good governance, free of corruption, guarantee of justice and equality, non-discrimination, and protection of human rights. In addition, a condition specific to the Thai context is that such a government also safeguards the stability of the Monarchy institution.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.229-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร -- ไทย
dc.subjectทหาร -- กิจกรรมทางการเมือง -- ไทย
dc.subjectการพัฒนาประชาธิปไตย -- ไทย
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- 2535-2554
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.subjectCivil-military relations -- Thailand
dc.subjectSoldiers -- Political activity -- Thailand
dc.subjectDemocratization -- Thailand
dc.subjectThailand -- Politics and government
dc.titleบทบาทของรัฐบาลพลเรือนในการสร้างดุลยภาพความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยen_US
dc.title.alternativeTHE ROLE OF CIVILIAN GOVERNMENT IN BALANCING CIVIL-MILITARY RELATIONS IN DEMOCRATIZATION PROCESSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineรัฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwchantana@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.229-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5181509024.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.