Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorใจทิพย์ ณ สงขลาen_US
dc.contributor.advisorศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์en_US
dc.contributor.authorปภิญญา ทองสมจิตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:03Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:03Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42759
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีขับเคลื่อนชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวทาง การคิดเชิงออกแบบและการประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยนักพัฒนาชุมชนและนิสิตอาสา เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนาโดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) การสำรวจภาคสนามบริบทของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย โดยการคัดเลือกชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ชุมชนอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2) การสร้างต้นแบบระบบ และตรวจสอบต้นแบบระบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เชียวชาญ และ 3) การทดลองใช้ระบบกับกลุ่มตัวอย่างชุมชนอัมพวาและทีมสร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิปัญญาหัตถกรรมจักสานก้านมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และรับรองระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงสร้างของระบบเทคโนโลยีขับเคลื่อนชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบและการประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยนักพัฒนาชุมชนและนิสิตอาสา แบ่งเป็น 3 ระบบย่อย คือ 1) ระบบค้นหาชุมชนและสร้างทีม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ เตรียมความพร้อมนักพัฒนาชุมชน เตรียมความพร้อมนิสิตอาสา คัดเลือกชุมชนเป้าหมาย และคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมทีม 2) ระบบสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ เปิดใจกว้าง สร้างทีมมิตร ระบุทิศทางหลัก รู้จักรอบด้าน ผสานปัญญา พัฒนาแนวคิด ผลิตและประเมิน และทำแผนเดินทาง และ 3) ระบบประเมินผล ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ประเมินนวัตกรรมท้องถิ่น และประเมินความเป็นชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรม 2. องค์ประกอบของระบบ ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ใช้ระบบ ประกอบด้วย ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญนอกชุมชน ผู้นำชุมชน นักพัฒนาชุมชน และนิสิตอาสา 2) เครื่องมือที่ใช้ในระบบ ประกอบด้วย คู่มือดำเนินการระบบ และเครื่องมือจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่ม จำนวน 8 หมวด ได้แก่ คู่มือพื้นฐานสำหรับนักพัฒนาชุมชนและนิสิตอาสา แผ่นพับ แผ่นป้าย กระดานร่วมคิด คำถามชวนคิด ไฟล์วีดิทัศน์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน 3) กระบวนการ ในระบบ และ 4) ผลลัพธ์ของระบบ 3. ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่าในระดับสูงที่สุด และการดำเนินกระบวนการกลุ่มมีความเป็นชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมในระดับสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to develop a Technological Driving System for Driving Communities of Innovations Based on the Design Thinking Approach and Participatory Rural Appraisal by Community Developers and Student Volunteers. The research and development process applied qualitative method and was divided into 3 phrases: 1) Field survey of the target communities 2) Develop system model 3) Testing system The research findings were; The structure of the system was divided into 3 subsystems namely; Team Building System, Innovation Creating System and Evaluation System. The Team Building comprised of 4 steps: 1 ) preparing community developer 2) Preparing student volunteers 3) Identify target communities 4) Identify team members. The Innovation Creating System comprised of 8 steps: 1) open mind 2) create innovative climate 3) set direction 4) analyze context 5) integrate wisdom 6) deliberate concepts 7) prototype and test 8) develop action plan. The evaluation system comprised of 2 steps; 1) evaluating local innovation 2) evaluating and community of local innovation. The Component of the system consisted of: 1) Users; local wisdom, external experts, community leader, community developer, and student volunteers 2) Instruments; system manual and collaboration developing toolkits 3) Process and 4) Outcome. Output of the pilot study, the coconut leaf stalk weaving group in Amphawa District, Samut SongKram Province found that local innovation product got the highest level and process of group activities has high level of community of innovationen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.232-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชน
dc.subjectชุมชนริมน้ำ
dc.subjectชุมชน -- การวิเคราะห์
dc.subjectCommunity development
dc.subjectWaterfronts
dc.subjectCommunities -- Analysis
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleระบบเทคโนโลยีขับเคลื่อนชุมชนสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบและการประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยนักพัฒนาชุมชนและนิสิตอาสาen_US
dc.title.alternativeA TECHNOLOGICAL SYSTEM FOR DRIVING COMMUNITIES OF INNOVATIONS FOR COMMUNITY DEVELOPERS AND STUDENT VOLUNTEERS BASED ON THE DESIGN THINKING APPROACH AND COMMUNITY PARTICIPATORY APPRAISAL BY COMMUNITY DEVELOPERS AND STUDENT VOLUNTEERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorjaitipn@gmail.comen_US
dc.email.advisorSiriwan.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.232-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184233227.pdf21.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.