Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42767
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุบล เบ็ญจรงค์กิจen_US
dc.contributor.authorวรทัย ราวินิจen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:08Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:08Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42767
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอารมณ์ที่เกิดขึ้นต่อการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตแต่ละประเภทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต่อความสำเร็จในการสื่อสารในภาวะวิกฤตขององค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างแบบจำลององค์ประกอบเชิงอารมณ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยเป็นการศึกษาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจาก 3 กรณีศึกษาได้แก่ กรณีเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 กรณีเหตุการณ์การระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานบีเอสที อิลาสโตรเมอร์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และกรณีเหตุการณ์การประท้วงหยุดงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ อันได้แก่ การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึก กับการวิจัยเชิงปริมาณ อันได้แก่ การสำรวจโดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุการณ์นั้นๆ รวมทั้งสิ้น 1,208 คน ประมวลผลทางสถิติด้วยวิธีวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า อารมณ์ที่ปรากฏขึ้นนั้นมีการจับกลุ่มกันอย่างชัดเจนระหว่างอารมณ์เชิงลบและอารมณ์เชิงบวก โดยอารมณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ปรากฏขึ้นโดดเด่นที่สุดใน (1) เหตุการณ์อุทกภัย 2554 ได้แก่ กังวลใจ กลัว และเศร้า (2) เหตุการณ์โรงงาน Bste ระเบิด ได้แก่ กลัว กังวลใจ และเศร้า (3) เหตุการณ์พนักงานการรถไฟประท้วงหยุดให้บริการทั่วประเทศ ได้แก่ เบื่อ อับอาย ไม่พอใจ ทั้งนี้ การเปิดรับสื่อของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นในเหตุการณ์ภาวะวิกฤตทั้ง 3 กรณี นอกจากนี้ยังพบว่า ในเหตุการณ์อุทกภัย 2554 อารมณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่ม “อารมณ์เชิงลบ-ส่งผลกระทบไม่รุนแรง” (EMO2) มีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับการประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารในภาวะวิกฤต ขณะที่กลุ่ม “อารมณ์เชิงบวก-มองโลกแง่ดี” (EMO4) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการประเมินประสิทธิภาพการสื่อสาร เช่นเดียวกับเหตุการณ์โรงงาน Bste ระเบิด ที่กลุ่ม “อารมณ์เชิงบวก-มองโลกแง่ดี” (EMO3) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the effect of emotions on stakeholders’ response in crisis situations and as a key factor affecting the success of crisis communication. It also aims to create a model demonstrating emotional component of crisis communication. By using three case studies, which are severe flood in year 2011, the explosions and fire at BST Elastromers, Co., Ltd. in Map Ta Phut Industrial Estate, and the strike of State Railway of Thailand’s employees. A mixed-methods research has been adopted with sequential transformative design which collects both qualitative and quantitative data. The researcher uses questinaire to collect the information from 1,208 samples who are stakeholder in each case. The results of the research show that the appearing emotions were clear combination of both positive and negative emotions. The most obvious emotions in (1) severe flood in year 2011 case were anxiety, fear, sadness (2) explosions and fire at BST Elastromers, Co., Ltd. case were fear, anxiety, sadness (3) strike of State Railway of Thailand’s employees case were boredom, shame, and frustration. Media exposure of stakeholders related to both positive and negative emotions appeared in all tree crisis cases. In addition, it is also found that in severe flood in year 2011 case, emotions in a group of EMO2 such as shame, boredom etc. were negatively correlated with the success of crisis communication while emotions in a group of EMO4 such as hope and pride were positively correlated with the success of crisis communication. This is similar to explosions and fire at BST Elastromers, Co., Ltd. Case where emotions in a group of EMO3 such as challenge, hope and pride were positively correlated with the success of crisis communication.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.251-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสาร -- แง่จิตวิทยา
dc.subjectการสื่อสาร -- องค์ประกอบ
dc.subjectCommunication -- Psychological aspects
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleแบบจำลององค์ประกอบเชิงอารมณ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤตen_US
dc.title.alternativeA MODEL FOR EMOTIONAL COMPONENT IN CRISIS COMMUNICATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoryubol.b@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.251-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5185105828.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.