Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42775
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ | en_US |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:21:13Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:21:13Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42775 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ตามสากลลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงของภาษา เสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงที่มักจะสูญไป หากพบเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มขึ้นในตำแหน่งที่ไม่เคยมีมาก่อนก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ดังในกรณีภาษากะเหรี่ยงสะกอซึ่งมีเสียงพยัญชนะท้ายเพียงเสียงเดียว คือ เสียงกักที่เส้นเสียง /ʔ/ และภาษามลายูถิ่นปัตตานีซึ่งมีเสียงพยัญชนะท้ายเพียง 3 เสียง เมื่อผู้พูดภาษาเหล่านี้ได้เรียนรู้ภาษาไทยทำให้เกิดการสัมผัสภาษา ลักษณะทางภาษาบางอย่างจากภาษาไทย เช่น การมีเสียงพยัญชนะท้ายหลายเสียงจึงอาจจะถูกยืมได้ งานวิจัยนี้ศึกษาการแปรของเสียงพยัญชนะท้ายในภาษากะเหรี่ยงสะกอและภาษามลายูถิ่นปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุรูปแปรและวิเคราะห์การแปรของเสียงพยัญชนะท้าย (Ø) และ (ʔ) ในภาษากะเหรี่ยงสะกอและภาษามลายูถิ่นปัตตานีตามปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ภาวะสองภาษา อายุ ความใกล้ชิดชุมชน ทัศนคติ และวัจนลีลา และเพื่อสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ของภาษาโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ทั้งหมด ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา 120 คน จากจุดเก็บข้อมูล 4 แห่งๆ ละ 30 คน เป็นผู้พูดภาษากะเหรี่ยงสะกอที่หมู่บ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหมู่บ้านแม่ปิง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีที่หมู่บ้านตลาดแขก อำเภอเกาะ สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหมู่บ้านรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยพบการปรากฏของรูปแปรใหม่ของเสียงพยัญชนะท้ายในภาษากะเหรี่ยงสะกอที่หมู่บ้านป่าละอูเพียงแห่งเดียวเท่านั้น รูปแปรของเสียงพยัญชนะท้าย (Ø) มี 3 รูปแปร ได้แก่ รูปแปร [Ø] ซึ่งเป็นรูปแปรดั้งเดิม รูปแปร [ŋ] และ [k] ซึ่งเป็นรูปแปรใหม่ ส่วนรูปแปรของเสียงพยัญชนะท้าย (ʔ) มี 2 รูปแปร ได้แก่ รูปแปร [ʔ] ซึ่งเป็นรูปแปรดั้งเดิม และรูปแปร [k] ซึ่งเป็นรูปแปรใหม่ ส่วนผลการวิเคราะห์การแปรของเสียงดังกล่าวตามตัวแปรทางสังคม พบว่าตัวแปรทางสังคมทั้งหมดมีอิทธิพลต่อการปรากฏของรูปแปรใหม่ของเสียงพยัญชนะท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01 โดยตัวแปรทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการปรากฏของรูปแปรใหม่ของเสียงพยัญชนะท้ายมากที่สุด คือ ทัศนคติที่มีต่อภาษาไทย รองลงมาตามลำดับ คือ ความใกล้ชิดชุมชน อายุ และภาวะสองภาษา นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์วัจนลีลายังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารูปแปรใหม่ของเสียงพยัญชนะท้ายปรากฏในวัจนลีลาแบบระมัดระวังมากกว่าวัจนลีลาแบบเป็นกันเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01 และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดทำให้ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์แบบจำลองเพื่ออธิบายกลไกการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ของภาษา ซึ่งสรุปโดยสังเขปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ของภาษามีความสัมพันธ์กับตัวแปรทางสังคมหรือเงื่อนไขทางสังคม หากภาษาที่สัมผัสมีศักดิ์ศรีมากกว่าภาษาแม่ และผู้พูดมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยมาก มีอายุน้อย มีความใกล้ชิดชุมชนน้อย และมีทัศนคติบวกต่อภาษาที่สัมผัสมากกว่าภาษาแม่ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ของภาษาท้องถิ่น | en_US |
dc.description.abstractalternative | It is more universal for a language to lose final consonants rather than gain ones. Thus, finding a final consonant in a language that earlier has none would be interesting, as in the case of Sgaw Karen, a language which has only one final consonant, i.e. glottal stop /ʔ/, and Pattani Malay which has only three final consonants. When the speakers of these languages learn Thai, they will become bilingual and language contact will occur. Some phonological features, e.g. rich final consonants, will probably be borrowed from Thai. The present study examines the variation of final consonants in Sgaw Karen and Pattani Malay. The purpose is to identify the variants of final (Ø) and (ʔ) in Sgaw Karen and Pattani Malay and analyze their relationship with certain social factors; namely, bilingualism, age, community closeness, attitude, and style. The study also aims to synthesize a model of language change in progress resulting from language contact. Data was collected by interviewing 120 informants from four language communities (30 informants for each community). The four communities are composed of two Sgaw Karen language communities: 1) Ban Pa La-U, Amphoe Hua Hin, Changwat Prachuap Khiri Khan and 2) Ban Mae Ping, Amphoe Pai, Changwat Mae Hong Son, and two Pattani Malay language communities: 1) Ban Talat Khaek, Amphoe Ko Samui, Changwat Surat Thani and 2) Ban Rusamilae, Amphoe Mueang Pattani, Changwat Pattani. The findings show that [ŋ] and [k] are the new variants of final consonant (Ø) whereas [k] is the new one of final consonant (ʔ). They are found only in Sgaw Karen community at Ban Pa La-U. The frequencies of these variants significantly vary according to social factors. The most influential one is language attitude. The next influential ones are community closeness, age, and bilingualism, respectively. Moreover, there is stylistic variation of the final consonants; i.e., the new variants are used more in careful style than in casual style with the statistical significance at 0.01. Finally, a model of mechanism of language change in progress due to language contact was synthesized, based on all of the analysis results. In brief, language change in progress is related to social factors. If the contact language is more prestigious than the vernacular, and the speakers have competence in the contact language, belong to the young generation, have little community closeness, and have positive attitude to the contact language, then the vernacular is likely to change. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.241 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษากะเหรี่ยงสะกอ | |
dc.subject | ภาษากะเหรี่ยงสะกอ -- พยัญชนะ | |
dc.subject | ภาษามลายู | |
dc.subject | ภาษามลายู -- พยัญชนะ | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | การแปรของเสียงพยัญชนะท้ายในภาษากะเหรี่ยงสะกอและภาษามลายูถิ่นปัตตานี: การเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่อันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา | en_US |
dc.title.alternative | VARIATION OF FINAL CONSONANTS IN SGAW KAREN AND PATTANI MALAY: CONTACT-INDUCED LANGUAGE CHANGE IN PROGRESS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | amaraprasithrathsint@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.241 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5280517922.pdf | 7.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.