Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42790
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์en_US
dc.contributor.advisorวลัยพร ศิริภิรมย์en_US
dc.contributor.authorสิรินพร วิทิตสุภาลัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:23Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:23Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42790
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับรูปแบบการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน (2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดี (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน ประชากรคือ โรงเรียนเอกชนในระบบทั่วประเทศจำนวน 3,049 โรง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามภูมิภาคจำนวน 346 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,730 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยกร่างรูปแบบ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 24 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโรงเรียนเอกชนบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยใช้ รูปแบบเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่นมากกว่ารูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวด (ค่าเฉลี่ย = 3.78 และ 3.39 ตามลำดับ) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ผู้ให้ข้อมูลต้องการให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นรูปแบบเชิง ผลสำเร็จแบบยืดหยุ่นมากกว่ารูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวดเช่นเดียวกัน (ค่าเฉลี่ย = 4.72 และ 4.64 ตามลำดับ) 2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดีในปัจจุบันพบว่า มีการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยใช้รูปแบบเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่นมากกว่ารูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวด (ค่าเฉลี่ย = 4.02 และ 3.82 ตามลำดับ) สำหรับสภาพที่พึงประสงค์นั้น โรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดีพึงประสงค์ให้มีการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นรูปแบบเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่นมากกว่ารูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวดเช่นเดียวกัน (ค่าเฉลี่ย = 4.77 และ 4.73 ตามลำดับ) 3. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนคือ "รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการแบบเข้มงวดและแบบยืดหยุ่น" (IHS Model) ที่เน้นบูรณาการระหว่างการบริหารเชิงเหตุผลแบบเข้มงวด และการบริหารเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่นเพื่อมุ่งให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนบรรลุเป้าประสงค์ (Goal) ทั้งในระดับส่วนบุคคลและระดับโรงเรียนen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was conducted by using the mixed method approach, quantitative and qualitative methods. The objectives of the study were to 1. Investigate the human resource management model of private schools in the current situations and the desirable situations. 2. investigate the human resource management model of best practice private schools. 3. develop a human resource management model for private schools. The population of this study is 3,049 formal private schools. The 346 samples were collected by stratified random sampling in order to provide the quantitative data based on 5 levels rating scale questionnaire. Informants are 1,730 The quantitative data were analyzed into means, standard deviation, and PNIModified index. Furthermore, the model was created by analysis and synthesis the quantitative data and gradually modifying the model based on the evaluation form and comments from 24 experts. The findings revealed that : 1. Currently, private schools used the efficacy model of soft HRM more than the rational model of hard HRM (Mean = 3.78 and 3.39 respectively). In desirable situations, the informants also needed to use the efficacy model of soft HRM more than the rational model of hard HRM in the private schools HRM (Mean = 4.72 and 4.64 respectively). 2. The best practice of private schools currently used the efficacy model of soft HRM more than the rational model of hard HRM (Mean = 4.02 and 3.82 respectively). For the desirable situations, the best practice of private schools also need to use the efficacy model of soft HRM more than the rational model of hard HRM (Mean = 4.77 and 4.73 respectively). 3. A developed model for private schools HRM is "The Integrated Hard and Soft Model of HRM : IHS Model". The model emphasized the integration between the rational model of hard HRM and the efficacy model of soft HRM for the accomplishment of personal and school goals.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.269-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subjectการบริหารงานบุคคล
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectSchool management and organization
dc.subjectPersonnel management
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A HUMAN RESOURCE MANAGEMENT MODEL FOR PRIVATE SCHOOLSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpruet.s@chula.ac.then_US
dc.email.advisorwalaiporn52@yahoo.com
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.269-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284488027.pdf11.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.