Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิศณุ ทรัพย์สมพลen_US
dc.contributor.authorยุทธนา ปัญจธนศักดิ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:27Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:27Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42796
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractทางหลวงในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นผิวทางลาดยาง โดยมีถนนคอนกรีตเป็นส่วนน้อยประมาณร้อยละ 10 แม้ว่าถนนคอนกรีตโดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานยาวกว่า แต่มีค่าก่อสร้างเริ่มต้นที่สูงกว่า ซึ่งปัจจุบันยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการเลือกชนิดผิวทางระหว่างผิวลาดยางและผิวคอนกรีต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างถนนแอสฟัลต์คอนกรีตและถนนคอนกรีตโดยวิธีวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน โดยใช้ข้อมูลประวัติการก่อสร้าง บำรุงรักษา และปริมาณการจราจรจากสายทางของกรมทางหลวง และอ้างอิงราคากลางการก่อสร้างและบำรุงรักษา ณ ปี พ.ศ. 2556 โดยใช้พารามิเตอรแสดงผลเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิในรูปค่าใช้จ่ายเทียบเท่ารายปี (EUAC) ร่วมกับค่าปริมาณเพลามาตรฐาน (NESA) เป็นตัวแทนของปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นในแต่ละปี สายทางตัวอย่างที่คัดเลือกมาแบ่งเป็น ผิวทางแอสฟัลต์ครอบคลุม 5 มาตรฐานชั้นทาง จำนวน 61 สายทาง และผิวทางคอนกรีตเฉพาะมาตรฐานชั้นทางพิเศษ จำนวน 17 สายทาง ผลการวิเคราะห์เฉพาะถนนแอสฟัลต์สรุปได้ว่า ถนนชั้นทางพิเศษมีความคุ้มค่ามากกว่าถนนชั้นทาง 1 แม้ว่าจะมีการกระจายตัวของค่า EUAC ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่า NESA จะพบว่า ถนนชั้นทางพิเศษสามารถรองรับน้ำหนักจากปริมาณการจราจรได้สูงกว่าหลายเท่าตัว ส่วนการเปรียบเทียบสายทางแอสฟัลต์ที่มีมาตรฐานชั้นทางต่ำกว่าจะมีค่า EUAC ที่กระจายตัวในช่วงกว้างมาก จึงไม่อาจหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจน ผลการเปรียบเทียบระหว่างสายทางแอสฟัลต์และสายทางคอนกรีตที่อยู่ในระดับมาตรฐานชั้นทางพิเศษเหมือนกันพบว่า มีค่า EUAC ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายหลักของการก่อสร้างถนนแอสฟัลต์ คือ ราคายางแอสฟัลต์ ซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ราคาปูนซีเมนต์อันเป็นองค์ประกอบหลักของถนนคอนกรีตกลับค่อนข้างคงที่ จึงทำให้ผลการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานโดยใช้ราคากลาง ณ ปี พ.ศ. 2556 ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ดีหากพิจารณาประสิทธิภาพของค่าใช้จ่ายต่อการรองรับการจราจร หรือค่า EUAC/NESA ของผิวทางทั้งสองชนิดโดยเฉลี่ยพบว่า ผิวทางคอนกรีตมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาก แสดงถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายของถนนคอนกรีตที่มากกว่า นอกจากนี้การวิเคราะห์เปรียบเทียบครั้งนี้ใช้คาบเวลา 15 ปี ถึง 17 ปี ซึ่งโดยปกติถนนคอนกรีตจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถนนแอสฟัลต์ประมาณ 10 ปีขึ้นไป จึงถือเป็นอีกข้อได้เปรียบหนึ่งของถนนคอนกรีตen_US
dc.description.abstractalternativeThe majority of national highways in Thailand are asphalt pavement; while the portion of concrete pavement is around 10 percent. Although concrete pavement has generally longer service life than asphalt pavement, but the initial construction cost is higher as well. Since there are no clear criteria for selecting asphalt or concrete pavement, this research is therefore aims to compare the life cycle cost between asphalt pavement and concrete pavement. The historical data of construction and maintenance activities, and traffic volumes were collected from the Department of Highways. The analysis was done based on the standard price of the construction and maintenance in 2013. The results are presented in term of Equivalent Uniform Annual Cost (EUAC), and the Number of Equivalent Single Axle (NESA). The selected highways for this analysis consist of 61 asphalt pavements, covering all 5 standard classes, and 17 concrete pavements only in the special class. The result on asphalt pavement can be concluded that the special class pavements are more cost-effective than the class 1. Even though the EUAC is similar, the special class routes are able to support more traffic considering from NESA. While the EUAC of the lower standard classes are widely scattered; so it cannot make any solid conclusion. The comparison analysis shows that the EUAC of asphalt and concrete pavements in the special class are quite similar. This result may be caused by the increasing trend of asphalt price in the past decade, which is the major cost component of asphalt pavement. However, the Portland cement price, which is the major cost component of concrete pavement, has been unchanged. So, the life cycle costs that were applied by the 2013 standard price are not significantly different. However, the average life cycle cost per supported traffic (EUAC/NESA) of concrete pavements is much lower than asphalt pavements. In addition, since the analysis periods covered only 15 to 17 years, the remaining service life of concrete pavement which is usually longer than asphalt pavement is still unaccounted advantage.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.274-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผิวทางคอนกรีต
dc.subjectผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต
dc.subjectการวิเคราะห์การลงทุน
dc.subjectPavements, Concrete
dc.subjectPavement, Asphalt concrete
dc.subjectInvestment analysis
dc.titleการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานระหว่างถนนแอสฟัลต์และถนนคอนกรีตen_US
dc.title.alternativeCOMPARISON OF LIFE CYCLE COST ANALYSIS BETWEEN ASPHALT PAVEMENT AND CONCRETE PAVEMENTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwisanu.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.274-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5370567721.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.