Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4279
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ-
dc.contributor.authorกาญจนา ต่วนเทศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-10-04T08:00:21Z-
dc.date.available2007-10-04T08:00:21Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743344063-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4279-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบการทำเสถียรตะกอนที่มีนิกเกิลจากการชุบโลหะที่ได้จากโรงงานผลิตแฟ้ม โดยใช้ปูนขาวเป็นวัสดุประสาน และการทำให้เป็นก้อนโดยใช้ปูนขาวผสมเถ้าลอยลิกไนต์เป็นวัตถุประสาน ทำการทดลองหาอัตราส่วนวัสดุประสานต่อตะกอนที่เหมาะสมในการทำเสถียรและการทำให้เป็นก้อน โดยพิจารณาจากสมบัติทางกายภาพของตัวอย่างนั่นคือกำลังรับแรงอัด และประสิทธิภาพในการลดการถูกชะละลายโลหะนิกเกิล โดยในการทำเสถียรได้ทำการแปรอัตราส่วนโดยน้ำหนักของปูนขาวต่อตะกอนที่ 0.25 0.35 0.50 0.75 และ 1.00 รวมทั้งแปรอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ 0.40 0.50 0.60 และ 0.75 ส่วนในการทำให้เป็นก้อนทำการแปรอัตราส่วนวัสดุประสานนั่นคือปูนขาวผสมเถ้าลอยลิกไนต์ต่อตะกอนที่ 0.25 0.50 0.75 1.00 และ 1.25 รวมทั้งแปรอัตราส่วนปูนขาวต่อเถ้าลอยที่ 0.25 0.50 0.75 1.00 1.25 และ 1.50 ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำเสถียรได้แก่อัตราส่วนปูนขาวต่อตะกอนเป็น 0.50 โดยอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเป็น 0.75 ส่วนอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำให้เป็นก้อนคือที่อัตราส่วนวัสดุประสานต่อตะกอน 0.75 และอัตราส่วนปูนขาวต่อเถ้าลอยเป็น 1.00 เมื่อแปรค่าระยะเวลาบ่มพบว่า ระยะเวลาบ่มที่เพิ่มขึ้นไม่ช่วยให้สมบัติทางกายภาพรวมถึงการลดการชะละลายโลหะหนักเพิ่มขึ้น เมื่อแปรอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานพบว่าอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่เหมาะสมในการทำให้เป็นก้อนเป็น 0.60 จากการทดสอบการชะละลายยาวพบว่าโลหะหนักนิกเกิลถูกชะละลายออกมามากในช่วง 20 วันแรกและลดลงต่ำกว่า 1 มก./ล. จนตลอดการทดลอง ประสิทธิภาพในการลดการถูกชะละลายโลหะนิกเกิลในการทำเสถียรและทำให้เป็นก้อนเป็น 97.04% และ 63.46% ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการทำเสถียรด้วยปูนขาว การทำให้เป็นก้อนด้วยปูนขาวผสมเถ้าลอยลิกไนต์ และหากใช้ปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยลิกไนต์เป็นวัสดุประสานในการทำให้เป็นก้อนเป็น 2,500 1,903 และ 883 บาทต่อตันตะกอนตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThis research was investigated the comparison between stabilization and solidification of heavy metal sludge from metal coating industry by using lime for stabilization and lime with lignite fly ash as binder for solidification. The experiments were determined the optimum binder ratio for both stabilization and solidification by consider the physical properties of the test specimens, compressive strength, and leachability efficiency. The experiments were tested by varying the lime/sludge ratio and and water/binder ratio in stabilization test and varying the binder/sludge ratio and lime/fly ash ratio in solidification test. Curing time along the test was 7 days and water/binder ratio of all specimems for solidification was 0.50. For stabilization, lime/sludge ratio were 0.25, 0.35, 0.50, 0.75, and 1.00. And water/binder ratio were 0.40, 0.50, 0.60, and 0.75. The result indicated that the optimum lime/sludge ratio was 0.50 and water/binder ratio was 0.75. Regarding the solidification, binder/sludge ratio were0.25, 0.50, 0.75, 1.00, and 1.25 and lime/fly ash ratio were 0.25, 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, and 1.50. As a result, the optimum binder/sludge ratio was 0.75 and the optimum lime/fly ash ratio was 1.00. The optimum water/binder for solidification was 0.60. Almost all of the specimens had shown to give lower physical properties than that accepted by the solidified waste standard promulgated by the Ministry of Industry in Thailand. For long-term leachability test, the nickel concentration in leachate was decreased rapidly during the range twenty days and then continues became lower than 1.0 mg/l until the end. The comparison of the efficiencies on leachability reduction of nickel between the stabilization process and the solidification process was found to be 97.04% and 63.46% respectively. Cost estimation (only for chemical) of the aforementioned binder using lime stabilization process, lime solidification process and if use cement as binder in solidification process were 2,500 Baht, 1,903 Baht, and 883 Baht per ton 9f heavy metal sludge respectivelyen
dc.format.extent6331866 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนักen
dc.subjectตะกอนน้ำเสียen
dc.subjectขี้เถ้าลอยen
dc.subjectนิเกิลen
dc.subjectปูนขาวen
dc.titleการเปรียบเทียบการทำเสถียรตะกอนที่มีนิกเกิลด้วยปูนขาวและการทำให้เป็นก้อนด้วยปูนขาวผสมเถ้าลอยลิกไนต์en
dc.title.alternativeComparison of stabilization of nickel bearing sludge using lime and solidification using lime-fly ashen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPetchporn.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanjana.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.