Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42820
Title: บทบาทและการสืบทอดคาถาและพิธีกรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคที่บ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: THE ROLE AND TRANSMISSION OF MAGIC AND RITUAL IN FOLK HEALERS AT BAN NONG KHAO CHANGWAT KANCHANABURI
Authors: ปานวาด มากนวล
Advisors: ปรมินท์ จารุวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: poramin_jaruworn@yahoo.com
Subjects: เวทมนตร์
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
การรักษาโรค -- พิธีกรรม
Rites and ceremonies
Therapeutics -- Rituals
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษารวบรวมคาถาและพิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านที่บ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อวิเคราะห์บทบาทและการสืบทอดคาถาและพิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านโดยใช้แนวทางการศึกษาด้านคติชนวิทยา ได้แก่ การศึกษาคติชนด้านการสื่อสารการแสดง การศึกษาคติชนด้านบทบาทหน้าที่ และการศึกษาพฤติกรรมสัญลักษณ์และวัตถุสัญลักษณ์เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ พบว่าปัจจุบันหมู่บ้านนี้มีหมอพื้นบ้านทั้งหมด 22 คน แบ่งประเภทตามความรับรู้ของชาวบ้านได้ 12 ประเภท คือ หมอสมุนไพร หมอเหยียบหมา หมอกวาดยา หมอเริม-งูสวัด หมอดับพิษไฟ หมอสูญฝี หมอพ่นซาง หมอกระดูก หมองู หมอบ่งหนามและก้างปลา หมอตำแย และหมอนวดจับเส้น ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านที่บ้านหนองขาวเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู แล้วจึงรักษาโดยใช้สมุนไพรหรือการเป่าพ่น จากนั้นเป็นการบอกข้อควรระวังและการให้สินน้ำใจ พิธีกรรมมุ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ป่วยผ่านองค์ประกอบและสัญลักษณ์ที่สะท้อนความศรัทธาในอำนาจพระพุทธคุณ อำนาจของครู และอำนาจของคาถาอาคม คาถาที่ใช้ในการรักษาโรคพบ 20 คาถา ที่มามีทั้งที่แต่งขึ้นเอง นำมาจากคาถาอาคมประเภทอื่น และที่ตัดมาจากบทสวดที่ใช้ในพิธีสงฆ์ จำแนกตามเนื้อหาของคาถาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ คาถาที่มีเนื้อหาเน้นเรื่องการรักษาโรค และคาถาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ลักษณะและประเภทคาถาสะท้อนให้เห็นอิทธิพลพระพุทธศาสนาทั้งในแง่เนื้อหา ภาษา และวิธีการถ่ายทอด ผลการวิเคราะห์ในด้านบทบาทและการสืบทอดพบว่า คาถาและพิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านยังคงสืบทอดกันอยู่ในหมู่เครือญาติและครู-ศิษย์ ทั้งยังมีบทบาทต่อชุมชนในการสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจ การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน และการสืบทอดความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรค ปัจจัยที่มีผลต่อการสืบทอดคาถาและพิธีกรรมรักษาโรคจึงประกอบด้วยระบบเครือญาติ วิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรมที่พึ่งพาตนเอง ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งค่านิยมนับถือในการผู้มีวิชาความรู้ งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาในเชิงคติชนวิทยาที่ช่วยบันทึกรวบรวมคาถาและพิธีรักษาโรคอันเป็นองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านประเภทต่างๆ ในชุมชนแห่งนี้ และเป็นแนวทางในการศึกษาการแพทย์พื้นบ้านในเชิงคติชนวิทยาต่อไป
Other Abstract: This thesis aims to investigate and gather incantation and ritual of folk healers at Ban Nong Khao in Changwat Kanchanaburi. This is to analyze the role and transmission of incantation and ritual of folk healers. In this regard, 3 folkloristic approaches were employed: the performance-centered approach, the functionalist approach and the analysis of ritual symbols. According to the research results, there are presently 22 folk healers at Ban Nong Khao. These healers can be categorized, from the local perspective, into 12 kinds: herbalist, Mo Yeap Ma (dog bite healer), throat paint healer, herpes healer, Mo Dup Phit Fai (burn healer), Mo Soon Fee (abscess healer), “Sang” (infectious disease) healer, bone healer, Mo Ngoo (snake bite healer), Mo Bong Nam Lae Kangpla (thorn and fishbone pricking healer), midwife, and masseur. This study shows that a ritual of folk healers at Ban Nong Khao begins with “Wai Khru” (pay homage to the predecessor mentors), then proceeds to heal with herbs or magical actions. At last, it ends with suggesting of prohibitions and, commonly, giving remuneration. The ritual aims to engender the patients’ faith in the healing through all components and symbols embodied by the beliefs in the power of "Phra Ratanatrai" or the Triple Gem, the power of “Khru” or predecessor mentors and the power of magic. In this study, 20 incantations are found. The origins of these texts are various. Some are composed by folk healers themselves, some derived from other kinds of incantation and some from incantations in Buddhist rituals. The texts can also be categorized into 2 groups: incantations which depicts healing content and incantations which depict Buddhist content. These incantations’ characteristics and forms reveal the influence of Buddhism towards the texts’ content, composition and transmission. The role and transmission analysis shows that incantation and ritual of folk healers at Ban Nong Khao are still transmitted in family and through mentor-disciples relation. And they still have 3 significant roles: 1) encouraging the mental stability, 2) prompting interaction between community’s members and 3) transmitting local health beliefs. These roles imply 4 socio-cultural factors that maintain the functions of folk healers: 1) kinship, 2) self-sufficient and agricultural lifestyle, 3) beliefs in Buddhism and supernatural power and, lastly, 4) respect for learned persons. In conclusion, this folkloristic study benefits in terms of collecting and preserving healing incantation and ritual as a folk knowledge of this community. It also provides a folkloristic approach to study folk medicine in other communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42820
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.294
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.294
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380147422.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.