Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42822
Title: คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี "ไปพระบาท" ในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย
Other Titles: BELIEF IN THE SARABURI BUDDHA'S FOOTPRINT AND THE TRADITION OF "PAI PHRA BAT" IN CREATING THAI LITERARY TEXTS
Authors: วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์
Advisors: อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: arthid_s@yahoo.com
Subjects: ศรัทธา (พุทธศาสนา)
พุทธศาสนากับวรรณคดี
Faith (Buddhism)
Buddhism and literature
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท” กับการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย จากการศึกษาพบว่าคติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท” ทำให้เกิดวรรณคดีเกี่ยวกับพระพุทธบาทสระบุรี 5 เรื่อง ได้แก่ บุณโณวาทคำฉันท์ นิราศพระบาทของสุนทรภู่ นิราศพระบาทสำนวนนายจัด โคลงนิราศวัดรวกและโคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท วรรณคดีเหล่านี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1) วรรณคดีบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีของพระมหากษัตริย์ 2) วรรณคดีนิราศพรรณนาการเดินทางไปวัดพระพุทธบาทสระบุรี วรรณคดีบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ บุณโณวาทคำฉันท์และโคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท วรรณคดีกลุ่มนี้มีลักษณะร่วมด้านเนื้อหาที่สำคัญคือ อ้างถึงตำนานพระพุทธบาทสระบุรีเพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธบาท บันทึกการเสด็จพระราชดำเนิน “ไปพระบาท” ของพระมหากษัตริย์ อันมีนัยยะเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก และกล่าวถึงการสมโภชและการรื่นเริงเนื่องในประเพณี “ไปพระบาท” ซึ่งแสดงให้เห็นความศรัทธาในการถวายมหรสพเป็นพุทธบูชาและความนิยมในการเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาท ลักษณะร่วมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบุณโณวาทคำฉันท์ซึ่งเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์โคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาทที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตามด้วยบริบททางสังคมที่แตกต่างทำให้เนื้อหาที่ปรากฏร่วมกันนั้นมีรายละเอียดแตกต่างกันด้วย วรรณคดีนิราศพรรณนาการเดินทางไปวัดพระพุทธบาทสระบุรี ได้แก่ นิราศพระบาทของสุนทรภู่ นิราศพระบาทสำนวนนายจัด และโคลงนิราศวัดรวก วรรณคดีนิราศกลุ่มนี้ กวีกล่าวถึงการเดินทางไปวัดพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท” โดยผสานการพรรณนาอารมณ์ถึงนางอันเป็นที่รักตามขนบนิราศ แสดงให้เห็นลักษณะเด่นของนิราศสมัยรัตนโกสินทร์คือบันทึกประสบการณ์และสะท้อนสังคมวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางควบคู่ไปกับการพรรณนาอารมณ์รักถึงนางในนิราศ วรรณคดีทั้ง 2 กลุ่มล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ทำให้เกิดการเดินทางอันเป็นทั้ง “บุญยาตรา” เพื่ออานิสงส์ผลบุญในการบรรลุอุดมคติของชีวิตคือได้ขึ้นสวรรค์ไปจนถึงขั้นนิพพาน รวมทั้ง “การท่องเที่ยว” อันนำมาซึ่งความเพลิดเพลินด้วย ทั้งนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์อัครศาสนูปถัมภกมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการอุปถัมภ์ค้ำจุนให้ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเจริญงอกงามอยู่ได้ กล่าวได้ว่าวรรณคดีเกี่ยวกับพระพุทธบาทสระบุรีทั้ง 5 เรื่องตอกย้ำบทบาทและสำคัญของพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ กับการสร้างสรรค์วรรณคดีในสังคมไทยได้อย่างเด่นชัด
Other Abstract: This research studies the relationship between the belief of the Saraburi Buddha’s footprint, as well as the pilgrimage tradition to the site (The Tradition of Pai Phra Bat), and the creation of Thai literature. It finds that the belief and the tradition inspired five pieces of literature: Bunnowat Kham Chan, Sunthon Phu’s Nirat Phra Bat, and Nai Chat’s Nirat Phra Bat, Khlong Nirat Wat Ruak, and Khlong Lilit Dan Tamnan Phra Phuttha Bat. These works can be divided into two groups: first, the literature recording the royal pilgrimage to the Saraburi Buddha’s footprint, and second, the Nirat literature depicting the journey to the Buddha’s footprint temple or Wat Phra Phuttha Bat in Saraburi. The first group of works includes Bunnowat Kham Chan and Khlong Lilit Dan Tamnan Phra Phuttha Bat. Their key commonalities in the contents are the reference to the legend of the footprint, indicating its sacredness, the record of the kings’ pilgrimage tradition, implicitly celebrating the king as the upholder of religions, and the description of festivals in the footprint pilgrimage tradition, showing the belief in devoting celebratory events to Buddha, as well as the popularity of the tradition. These commonalities suggest that Bunnowat Kham Chan, written during the time of Ayutthaya kingdom, influenced on the writing of Khlong Lilit Dan Tamnan Phra Phuttha Bat which was composed in the reign of King Rama VI. Nevertheless, different social contexts result in some different details. The second group of the literature includes Sunthon Phu’s Nirat Phra Bat, Nai Chat’s Nirat Phra Bat and, Khlong Nirat Wat Ruak. Following the tradition of the Nirat literature, these works combine the description of the trip to the Buddha’s footprint temple and the pilgrimage tradition with that of the feelings towards the poets' beloved. They illustrate the characteristic of the Nirat literature in the time of Rattanakosin period, i.e. the record of experience, and the reflection of society and culture in general, coupled with the description of the affection for women. Both categories of texts demonstrate the influence of Buddhism in initiating the journey that is regarded as a “pilgrimage” or a meritorious act to achieve the religious goal of life, namely to attain the heavenly bliss and, ultimately, Nirvana. Also, the pilgrimage trip to Phra Phutta Bat was a kind of travel in the old day. The king, as an upholder of the religion, plays a significant role in promoting the belief in Buddhism. It could be concluded that the five works evidently reaffirm the role and the significance of Buddhism, the monarchy, and the creation of literature in Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42822
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.295
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.295
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380165722.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.