Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42842
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุทัย ตันละมัยen_US
dc.contributor.authorบุศรา สุขะวัลลิen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:49Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:49Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42842
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยการเรียนรู้การบัญชีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ให้อยู่ในรูปแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความพอดีระหว่างเทคโนโลยีส่วนประสานและรูปแบบของคำถามที่ใช้ในการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนที่ส่งผลต่อคะแนนการเรียนรู้และประสบการณ์การเรียนรู้การบัญชีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เครื่องมือช่วยการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น แบ่งโจทย์การเรียนรู้เป็น 2 แบบ คือ โจทย์ภาพกับโจทย์ข้อความและใช้เทคโนโลยีส่วนประสาน 2 ชนิด คือ การใช้หน้าจอสัมผัสกับการใช้เมาส์คลิก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Semi-experimental research) เก็บข้อมูลความคิดเห็นจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี ชั้นปีที่ 2 และ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 120 คน ซึ่งมีความรู้พื้นฐานด้านการบัญชีและการภาษีอากร แต่ยังไม่ได้เรียนเรื่องการบัญชีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การวิจัยได้ออกแบบการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 X 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มใช้โจทย์ภาพ (Picture Question) ด้วยคอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัส (Tablet) 2) กลุ่มใช้โจทย์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์ชนิดเมาส์คลิก (Notebook, PC) 3) กลุ่มใช้โจทย์ข้อความด้วยคอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัส และ 4) กลุ่มใช้โจทย์ข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ชนิดเมาส์คลิก ผลจากการวิเคราะห์คะแนนการเรียนรู้ (Learning Score) พบว่า คะแนนหลังการทดลอง (Post-test) สูงกว่าคะแนนก่อนการทดลอง (Pre-test) ในทั้ง 4 กลุ่ม ในขณะที่มีเพียง 3 จาก 4 กลุ่ม ที่คะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ คือ กลุ่มที่ 1) โจทย์ภาพกับคอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัส กลุ่มที่ 2) โจทย์ภาพกับคอมพิวเตอร์ชนิดเมาส์คลิก และกลุ่มที่ 4) โจทย์ข้อความกับคอมพิวเตอร์ชนิดเมาส์คลิก ส่วนกลุ่มที่คะแนนก่อนและหลังไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ คือ กลุ่มที่ 3) โจทย์ข้อความกับคอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัส ผลของการศึกษาเกี่ยวกับความพอดีกันระหว่างรูปแบบของโจทย์คำถามและประเภทเทคโนโลยีส่วนประสานในแต่ละกลุ่ม พบว่าไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ 1 นั่นคือ ความพอดีกันระหว่างโจทย์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์จอสัมผัส ไม่มากกว่า ความพอดีกันระหว่างโจทย์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์ชนิดใช้เมาส์คลิก และ ความพอดีกันระหว่างโจทย์ข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ชนิดใช้เมาส์คลิก ไม่มากกว่า ความพอดีกันระหว่างการใช้โจทย์ข้อความด้วยคอมพิวเตอร์จอสัมผัส สำหรับสมมติฐานที่ 2 พบความสัมพันธ์บางส่วนระหว่างความพอดีกันระหว่างโจทย์และเทคโนโลยีส่วนประสาน คือ ความพอดีกันมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การเรียนรู้ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนการเรียนรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims at developing a user-friendly Computer-Assisted Instruction (CAI) application for Deferred Tax topic. The study examines the relationship between the fitting of interface technology and format of exercise question being used and its effect on user’s learning score and learning experience. The CAI was developed using two types of question format on two kinds of interface technology. Semi-experimental research was conducted to collect perception data from 120 undergraduate accounting students in their second-year and third-year who have already had a basic knowledge of accounting and taxation but have not been exposed to Deferred Tax topic. A 2x2 group design was used to classify the samples: Group#1-Picture question with Touch screen interface, Group#2-Picture question with Mouse-click interface, Group#3-Text-based question with Touch screen interface, and Group#4-Text-based question with Mouse-click interface. The analysis of learning scores showed that the post-test scores were higher than the pre-test scores in all four groups whilst the higher scores were statistically significant difference for only 3 out of 4 groups: Group#1-Picture question with Touch screen, Group#2-Picture question with Mouse-click, and Group#4-Text-based question with Mouse-click. No statistically significant difference between pre- and post-test scores was found in Group#3-Text-based question with Touch screen. The study results regarding the fit between types of question and interface technology in each individual group showed no support to Hypothesis #1. Specifically, Picture-question with Touch screen interface did not fit better than Picture-question with Mouse-click interface. Also, Text-based question with Mouse-click interface did not fit better than Text-based question with Touch screen interface. Hypothesis #2 was partially supported. There were relationships between the fit and CAI’s users learning experience but not the fit and learning scores.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.339-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบัญชี -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
dc.subjectการบัญชี -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectAccounting -- Computer-assisted instruction
dc.subjectAccounting -- Study and teaching
dc.titleความพอดีระหว่างเทคโนโลยีส่วนประสานกับรูปแบบคำถามและประสบการณ์การเรียนรู้จากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเรียนการบัญชีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีen_US
dc.title.alternativeTHE FIT BETWEEN INTERFACE TECHNOLOGY AND QUESTION FORMAT AND LEARNING EXPERIENCE FROM THE COMPUTER-AIDED LEARNING OF DEFERRED TAXen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorUthai@cbs.chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.339-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5381824826.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.