Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42848
Title: การศึกษาวิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในระบบโรงเรียนและบ้านดนตรีไทย
Other Titles: A STUDY OF THAI CLASSICAL MUSIC TRANSMISSION IN SCHOOLS AND THAI MUSIC HOUSES
Authors: นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร
Advisors: ณรุทธ์ สุทธจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Narutt.s@chula.ac.th
Subjects: ดนตรีไทย -- การศึกษาและการสอน
เครื่องดนตรีไทย
Musical instruments, Thai
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาวิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในบ้านดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ จากการสัมภาษณ์ การสังเกต และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ถ่ายทอดในระบบโรงเรียน คืออาจารย์ประดิษฐ์ อินทนิล และผู้รับการถ่ายทอด จำนวน 65 คน ผู้ถ่ายทอดในระบบบ้านดนตรีไทยคือ ผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต และผู้รับการถ่ายทอด จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด 2) แบบสังเกต การถ่ายทอดดนตรีไทยในเชิงปฏิบัติการ 3) แบบสอบถามผู้รับการถ่ายทอด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอในรูปแบบความเรียง และตาราง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา มีขั้นตอนการถ่ายทอดดังนี้ กลุ่มผู้เรียนในรายชั่วโมง 1) ทำความเข้าใจในเนื้อสาระ 2) การอธิบายพื้นฐานด้านดนตรีไทยเบื้องต้น 3) เลือกเครื่องดนตรีที่สนใจปฏิบัติ บรรยาย/สาธิต 4) ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ 5) ผู้สอนคอยติดตาม และประเมินอย่างใกล้ชิด 6) ประเมินผล กลุ่มผู้เรียนในชุมนุม 1) อธิบายความเป็นมาและสาระความรู้ของบทเพลง 2) สาธิตการบรรเลงพร้อมกับแจกโน้ตเพลง 3) ให้เวลาฝึกซ้อม 4) ปรับและแก้ไขทางเพลง วิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในระบบโรงเรียน ด้านวิธีการ กระบวนการการถ่ายทอด พบว่า ในระบบโรงเรียนมีภาพรวมการถ่ายทอดในระดับ มาก (M = 2.6, S.D. = 0.49) 2. วิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในบ้านดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต มีขั้นตอน การถ่ายทอดที่มุ่งเน้นไปทางด้านการปฏิบัติ โดยแบ่งผู้เรียน ออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้เรียนพื้นฐาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) สอบถามความพร้อมก่อนการศึกษา 2) เรียนรู้การบรรเลงให้ตรงคู่เสียงโดยการจับมือตี 3) ปฏิบัติเพลงสาธุการ ชุดโหมโรงเย็น 4) การวัดผลและการประเมินผล กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถอยู่แล้ว มีขั้นตอนดังนี้ 1) มีการทดสอบก่อนเรียน 2) เรียนเพลงประเภทเพลงเรื่อง และเพลงเถา 3) การวัดผลและการประเมินผล วิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยในระบบบ้านดนตรีไทย ด้านวิธีการ กระบวนการการถ่ายทอด พบว่าในระบบบ้านดนตรีไทยมีภาพรวมการถ่ายทอดในระดับ มาก (M = 2.6, S.D. = 0.63)
Other Abstract: The study aims to investigate the transfer of knowledge about Thai classical music at Piboonbumpen Demonstration School, Burapa University and at Baan Puyai Thaworn Sangjit (House of the Village Headman, Thaworn Sangjit) and applied both quantitative and qualitative methods including observation, interviews, and questionnaires. The subjects for the first group were Ajarn Pradit Intanin (the mentor) and his 65 students. The subjects for the second group were Puyai Thaworn Sangjit and his 15 students. Research methodology included interviews with the mentors,completion of an observation checklist in class, and questionnaires collected from the students. The researcher collected data from printed documents and informal interviews. The results are presented in texts (essay) and tables. The results of the study are stated as follows. At Piboonbumpen Demonstration School, Burapa University, the mentor transferred the knowledge by : A group of students in their learning time(1) giving clear lesson plans; (2) giving background information about Thai classical music; (3) allowing students to choose a musical instrument they are interested in; (4) giving lectures and demonstrations; (5) encouraging student to practice (6) facilitating and evaluating the students' performance. A group of students in their activity course (1) explaining the background and the detail of songs’ knowledge (2) demonstrating how to play a musical instrument and giving scores. (3) giving time for practicing. (4) adjusting and correcting. It was found that the transfer of knowledge at Piboonbumpen Demonstration School was effective at M=2.6, and S.D.=0.49. At Baan Puyai Thaworn Sangjit, the transfer of knowledge is achieved primarily through practice. Students are divided into two groups: beginners and intermediate learners. For beginners, the mentor transferred the knowledge by (1) asking if the students are ready to learn; (2) having students practice the intervalswhile the mentor holds the students' hands to practice; and (3) students practicing Pleng Satukarn (salutation song), and Hom Rong Yen (overture); and (4) the mentor evaluating the students' performance. For intermediate learners, the steps were: (1) the students take a pre-test; (2) the students learn about a series of Thai classical songs; and (3) the mentor evaluates the students' performances. It was found that the transfer of knowledge at Baan Puyai Thaworn Sangjit was effective at M=2.6, and S.D.=0.63.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42848
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.345
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.345
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383346527.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.