Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42856
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: EFFECTS OF ORGANIZING MATHEMATICS LEARNING ACTIVITIES USING SCAFFOLDING STRATEGIES ON MATHEMATICAL CONCEPTS AND COMMUNICATION ABILITY OF EIGHTH GRADE STUDENTS
Authors: หทัยรัตน์ ยศแผ่น
Advisors: สมยศ ชิดมงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: somyot.c@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- การทดสอบ
Mathematics -- Study and teaching
Mathematical ability -- Testing
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ 2. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 5. เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยธนบุรี กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 98 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 48 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 50 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อ การเรียนรู้ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วัดก่อนและหลัง จำนวน 2 ชุด ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 และ 0.91 และแบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วัดก่อนและหลัง จำนวน 2 ชุด ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.883 และ 0.925 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดโดยกรมวิชาการ คือ สูงกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนที่ได้จากแบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียน 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The aims of the research 1) to study the mathematical concepts of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies. 2) to compare the mathematical communication abilities of students before and after learning by organizing mathematics learning activity using scaffolding learning strategies. 3) to compare the mathematical concepts of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies with those of students taught by conventional learning activities. 4) to compare the mathematical communication abilities of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies with those of students taught by conventional learning activities. 5) to study the progress of the mathematical concepts and mathematical communication abilities of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies. The subjects were 98 eighth grade students in the second semester of the 2013 academic year at Suankalarbwittayalai Thonburi School. There were 48 students in the experimental group and 50 students in the control group. The experimental group was taught by the organizing mathematics learning activities using scaffolding strategies while the control group was taught by organizing mathematics learning activities using conventional methods. The instruments for data collection were two mathematical concept tests with the reliability of 0.94 and 0.91 and two mathematical communication ability tests with the reliability of 0.883 and 0.925 respectively. The experimental materials constructed by the researcher were the lesson plans using the scaffolding strategies , and the conventional lesson plans. The data were analyzed by arithmetic means, standard deviations, and t-tests. The results of the study revealed that: 1) the mathematical concepts of students in the experimental group were higher than the minimum criteria of 50 percents. 2) the mathematical communication abilities of students in the experimental group were higher than those before the instruction at the .05 level of significance. 3) the mathematical concepts and mathematical communication ability of students in the experimental group were higher than those of the students in the control group at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42856
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.353
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.353
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383430527.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.