Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42872
Title: การพัฒนาไฮโดรเจลผสมระหว่างไฟโบรอินไหมไทยและเจลาติน สำหรับการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมิน และดีเอชเอ
Other Titles: DEVELOPMENT OF THAI SILK FIBROIN-GELATIN BLENDED HYDROGELS FOR CONTROLLED RELEASE OF CURCUMIN AND DHA
Authors: กัณฐรัตน์ เลิศไชย
Advisors: ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล
จุฑารัตน์ กิจส่งเสริมธน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.D@chula.ac.th
Jutarat.K@chula.ac.th
Subjects: วิศวกรรมเคมี -- เครื่องมือและอุปกรณ์
มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
Chemical engineering -- Equipment and supplies
Cancer -- Prevention
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาไฮโดรเจลผสมระหว่างไฟโบรอินไหมไทยและ เจลาติน เพื่อประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมินและดีเอชเอ ไฮโดรเจลถูกเตรียมจากไฟโบรอิน/เจลาติน ที่อัตราส่วน 0/100, 5/95, 10/90, 15/85, 20/80, 50/50, 80/20 และ 100/0 โดยน้ำหนัก และเชื่อมขวางด้วยสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ที่ความเข้มข้นต่างๆ และขึ้นรูปด้วยเทคนิคกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง พบว่าไฮโดรเจลที่ถูกเชื่อมขวางด้วยสารละลาย กลูตารัลดีไฮด์ 0.20% โดยปริมาตร มีความคงตัวมากที่สุด จากผลค่าศักย์เซต้าพบว่าค่าศักย์เซต้าของสารละลายผสมไฟโบรอิน/เจลาตินที่เป็นบวกมีค่าลดลง เมื่อสัดส่วนของไฟโบรอินเพิ่มขึ้น ส่วนค่ามุมสัมผัสของน้ำบนฟิล์มผสมไฟโบรอิน/เจลาตินมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อสัดส่วนของไฟโบรอินเพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นถึงสมบัติความชอบน้ำที่ลดลง โครงสร้างสัณฐานของไฮโดรเจลไฟโบรอิน/เจลาตินมีรูพรุนสม่ำเสมอและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และมีร้อยละการบวมน้ำอยู่ในช่วง 700 จากผลการศึกษาร้อยละการเชื่อมขวางด้วยวิธี TNBS พบว่าไฮโดรเจลผสมไฟโบรอิน/เจลาตินมีค่าร้อยละการเชื่อมขวางมากกว่าไฮโดรเจลเจลาตินหรือไฟโบรอินอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า ไฮโดรเจลเจลาตินถูกย่อยสลายเร็วกว่าไฮโดรเจลไฟโบรอินและไฮโดรเจลผสมไฟโบรอิน/เจลาติน เมื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าไฮโดรเจลที่เตรียมได้ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของหนูชนิด L929 และเมื่อนำ ไฮโดรเจลไปดูดซับเคอร์คูมิน และ/หรือ ดีเอชเอเพื่อศึกษาการควบคุมการปลดปล่อย พบว่า เคอร์คูมินและดีเอชเอถูกดูดซับบนไฮโดรเจลด้วยอันตรกิริยาของความไม่ชอบน้ำ การปลดปล่อยเคอร์คูมินและดีเอชเอภายใต้สภาวะที่ไม่มีและมีเอนไซม์คอลลาจีเนส แสดงให้เห็นว่าไฮโดรเจล ไฟโบรอินและไฮโดรเจลผสมไฟโบรอิน/เจลาตินสามารถชะลอการปลดปล่อยเคอร์คูมินและ ดีเอชเอได้มากกว่าไฮโดรเจลเจลาติน โดยกลไกการปลดปล่อยสามารถอธิบายได้ด้วยกลไกการแพร่และการย่อยสลายของไฮโดรเจล และเมื่อนำระบบควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมิน และ/หรือ ดีเอชเอนี้ไปทดสอบการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปากมดลูก พบว่าการปลดปล่อยเคอร์คูมิน และ/หรือ ดีเอชเอจากไฮโดรเจลสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This research aimed to develop Thai silk fibroin/gelatin (SF/G) blended hydrogels for the controlled release of curcumin and DHA. The blended SF/G hydrogels at the different weight blending ratios of 0/100, 5/95, 10/90, 15/85, 20/80, 50/50, 80/20 and 100/0 were fabricated using freeze-dry technique and crosslinked with glutaraldehyde at various concentrations. The results showed that the most stable SF/G hydrogel was the one crosslinked with 0.20% v/v glutaraldehyde. The zeta potential of SF/G solutions was decreased when increasing SF content. On the other hand, water contact angle on the SF/G films was increased with the increasing of SF content, suggesting the decreased hydrophilicity. The cross-sectioned morphology of all SF/G hydrogels showed homogeneous porous structure and interconnected pores. The degrees of water swelling of SF/G hydrogels were around 700%. The results of crosslinking degrees analyzed by 2, 4, 6-trinitrobenzenesulfonic acid (TNBS) method exhibited that the SF/G blended hydrogels were crosslinked to a higher extent than the pure G and SF hydrogels. Furthermore, the pure G hydrogels were found to degrade faster than the pure SF and SF/G blended hydrogels when incubated in collagenase solution. The cytotoxicity test showed that all SF/G hydrogels were not toxic to L929 mouse fibroblast. For the controlled release application, curcumin and/or DHA were adsorbed on the SF/G hydrogels by hydrophobic interaction. The in vitro release of curcumin and DHA from the SF/G hydrogels was studied both in the absence and presence of collagenase. It was found that pure SF and SF/G blended hydrogels could prolong the release of curcumin and DHA, compared to the pure G hydrogels. The controlled release of curcumin and DHA from hydrogels was governed by the diffusion and degradation mechanisms. When tested these controlled release systems with cervical cancer cells, curcumin and/or DHA released from the hydrogels effectively inhibit the growth of cervical cancer cells.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42872
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.308
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.308
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470117021.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.