Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42881
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพดล จอกแก้วen_US
dc.contributor.authorโตมร หลินหะตระกูลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:22:10Z
dc.date.available2015-06-24T06:22:10Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42881
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างและปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างของแรงงานก่อสร้าง โดยวิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาปัจจัยเบื้องต้นที่ส่งผลต่อการกำหนดค่าจ้างของแรงงานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ราย โดยสามารถแยกปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างแรงงานก่อสร้างออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ ปัจจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย อายุ ประสบการณ์ในการทำงานก่อสร้าง ประสบการณ์ในบริษัทปัจจุบัน คะแนนคุณภาพงาน และผลิตภาพ และปัจจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย เพศ รูปแบบบริษัท ความต้องการแรงงาน และสภาพแวดล้อมการทำงาน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างโดยใช้ข้อมูลอัตราค่าจ้างและปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 631 ตัวอย่างใน 5 ประเภทแรงงานโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ ซึ่งแยกวิเคราะห์ตามปัจจัยเชิงคุณภาพได้แก่ รูปแบบบริษัท ความต้องการแรงงาน และสภาพแวดล้อมการทำงาน 3) จัดระดับอัตราค่าจ้างแรงงานก่อสร้างตามปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างในแต่ละประเภทแรงงาน และ 4) ตรวจสอบความถูกต้องของสมการความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างและปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้าง ผลการวิจัยพบว่าเมื่อแยกวิเคราะห์อัตราค่าจ้างตามกลุ่มปัจจัยเชิงคุณภาพโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยความต้องการแรงงานไม่มีผลต่ออัตราค่าจ้าง ส่วนปัจจัยรูปแบบบริษัท และปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานมีผลต่ออัตราค่าจ้าง และเมื่อทำการวิเคราะห์อัตราค่าจ้างภายใต้ปัจจัยเชิงคุณภาพพบว่าปัจจัยที่มีผลต่ออัตราค่าจ้างได้แก่ เพศ คะแนนคุณภาพงาน และประสบการณ์ในการทำงานก่อสร้าง และเมื่อจัดระดับอัตราค่าจ้างตามปัจจัยรูปแบบบริษัท และปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน พบว่าอัตราค่าจ้างแรงงานภายใต้ปัจจัยดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 แต่เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของอัตราค่าจ้างที่สูงที่สุดของช่างทุกประเภทพบว่าอัตราค่าจ้างต่อวันในระดับที่ 1 มีค่าจ้างเฉลี่ยคือ 354 บาท ระดับที่ 2 มีค่าจ้างเฉลี่ยคือ 404 บาท และระดับที่ 3 มีค่าจ้างเฉลี่ยคือ 453 บาท โดยสมการถดถอยพหุคูณสามารถนำไปใช้ในการประมาณค่าจ้างแรงงานตามปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้าง และระดับอัตราค่าจ้างแรงงานที่ถูกแบ่งตามปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างสามารถนำไปใช้ในการบริหารค่าจ้างแรงงานได้ และจากการตรวจสอบความถูกต้องพบว่าสมการความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างและปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the relationship between wages and factors influencing wages of construction labors. The research methodologies consist of 1) study basic factors influencing construction labors’ wage from literature reviews, and interview to 12 experts. The factors were classified into 2 groups such as quantitative factors which consist of age, experience in construction works, experience in construction company, quality score of work and productivity, and qualitative factors which consist of sex, type of company, labor demand and working environment. 2) The data of labors’ wage and factors influencing labors’ wage were collected by interviewing to 631 samples in 5 types of construction labor. The data were analyzed by using multiple regression method following qualitative factors such as type of company, labor demand and working environment. 3) Classify the level of construction labors’ wage following factors influencing construction labors’ wage in each type of labor. 4) Validate the accuracy of equations of relationship between wages and factors influencing wages of construction labors. The results of this research show that labor demand does not influence construction labor wage. However, type of company and working environment influence construction labor wage. Under qualitative factors, the factors influencing construction labors’ wage are sex, experience and quality score of work. Under type of company and working environment factor, the wages of labors in each level are not different at significant level 0.05. However, the average of construction labors’ wage per day in first level is 354 bahts, second level is 404 bahts and third level is 453 bahts. The multiple regression equations can be used to estimate construction labors’ wage and level of labors’ wage can be applied to manage cost of construction labor. The error of equations of relationship between wage and factors influencing construction labors’ wage is around 4 percentages.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.366-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการก่อสร้าง
dc.subjectค่าจ้างกับแรงงาน
dc.subjectการจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์)
dc.subjectWages and labor productivity
dc.subjectEmployment (Economic theory)
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างและปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราค่าจ้างแรงงานก่อสร้างen_US
dc.title.alternativeA STUDY OF RELATIONSHIP BETWEEN WAGES AND FACTORS INFLUENCING WAGES OF CONSTRUCTION LABORSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNoppadon.j@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.366-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470208521.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.