Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิสุทธิ์ เพียรมนกุลen_US
dc.contributor.authorพลอยไพลิน ร่มโพธิ์ภักดิ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:22:14Z
dc.date.available2015-06-24T06:22:14Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42887
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractถังตกตะกอนสัมผัสเป็นถังปฏิกรณ์ประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในระบบผลิตน้ำในปัจจุบันสำหรับแยกของแข็งแขวนลอยและอนุภาคคอลลอยด์ซึ่งเป็นสาเหตุของความขุ่นออกจากน้ำดิบ แม้ว่าถังตกตะกอนชนิดนี้จะเป็นที่นิยมใช้ แต่ยังคงมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลไกที่เกิดขึ้นและผลของพารามิเตอร์ต่างๆ ต่อประสิทธิภาพและการทำงานของถังตกตะกอน งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในถังตกตะกอนสัมผัสแบบหมุนเวียนตะกอนชนิดเจ็ทแคร์ริไฟเออร์ เพื่อศึกษากลไกภายในถังตกตะกอน และสภาวะที่เหมาะสมในการเดินระบบ รวมถึงนำเสนอเกณฑ์การออกแบบถังตกตะกอนชนิดนี้ โดยการทดลองจะใช้ถังตกตะกอนสัมผัสแบบหมุนเวียนตะกอนชนิดเจ็ทแคร์ริไฟเออร์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร สูง 0.8 เมตร และมีปริมาตรรวม 243 ลิตร ค่าพารามิเตอร์ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ชนิดและความเข้มข้นของสารโคแอกกูแลนท์ ชนิดของน้ำดิบ (น้ำดิบจริงและน้ำดิบสังเคราะห์) อัตราการไหล (40 – 180 ลิตรต่อชั่วโมง) ความขุ่นเริ่มต้นของน้ำดิบ (20 – 200 เอ็นทียู) ความสูงของชั้นตะกอน (10 – 25 เซนติเมตร) ระยะห่างระหว่างของสัดส่วนต่างๆ ภายในถังตกตะกอนและประสิทธิภาพของแผ่นขนานเอียงที่มีต่อถังตกตะกอน ผลการวิจัยพบว่าสารโคแอกกูแลนท์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับน้ำดิบที่ใช้ศึกษา คือ สารส้มน้ำ และถังตกตะกอนสัมผัสมีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นมากกว่าร้อยละ 80 ที่อัตราการไหล 70 ลิตรต่อชั่วโมง (อัตราน้ำล้นผิว 0.2859 เมตรต่อชั่วโมง) ในสภาวะการเดินระบบที่เหมาะสม กล่าวคือ ความสูงของชั้นตะกอน 25 เซนติเมตร ช่องว่างระหว่างกรวยชั้นในกับพื้นถังตกตะกอน (h) 6 เซนติเมตร และช่องว่างระหว่างทรงกระบอกชั้นกลางกับพื้นถัง (H) ที่ความสูง 30 เซนติเมตร โดยพบว่าประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นจะสูงขึ้นตามความขุ่นเริ่มต้นของน้ำดิบ นอกจากนี้ การติดตั้งแผ่นขนานเอียงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ในทุกอัตราการไหลที่สภาวะเดินระบบที่เหมาะสม ซึ่งถังตกตะกอนนี้อาจนำไปใช้ร่วมกับกระบวนการแยกอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการบำบัดน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงช่วยลดขนาด และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและการเดินระบบได้ในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeSolid contact clarifiers have been widely applied in water treatment for separating undesirable particles such as colloidal particles or suspended solid from raw water. However, effects of key parameters and removal mechanisms had not been fully understood. Therefore, this study aimed to determine effects of parameters (i.e. operating conditions, coagulant type and dosage, liquid flow rate, raw water type, initial turbidity, sludge blanket height, spaces in the tank, and settling tube installation) on the separation performance. The separation mechanism was also investigated in order to obtain optimal operating condition and design criteria. The experiments were performed in a pilot scale jet clarifier with 0.7 m diameter, 0.8 m height, and total volume of 243 L. The system was operated as a continuous process. Alum was found as the optimal coagulant in this study. The turbidity removal efficiency higher than 80% can be achieved by the jet clarifier at the flow rate of 70 L/hr (surface loading rate of 0.2859 m/hr) under the optimal condition (i.e. 25 cm sludge height, 6 cm between the inner cone and the bottom of the tank, and 5 cm between the cylindrical partition and the top of sludge layer). The efficiencies were increased with the initial turbidity. In addition, the installation of settling tubes can enhance the removal efficiency at every flow rate at the optimal condition. The jet clarifier could be combined with other separation processes for more effective separation in a compact area with economical construction and operating costs.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.321-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำ
dc.subjectการรวมตะกอน
dc.subjectสารจับกลุ่มตะกอน
dc.subjectWater
dc.subjectCoagulation
dc.subjectFlocculants
dc.titleการกำจัดความขุ่นด้วยถังตกตะกอนสัมผัสแบบหมุนเวียนตะกอนen_US
dc.title.alternativeTURBIDITY REMOVAL BY SOLID CONTACT CLARIFIER WITH SLUDGE RECIRCULATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpisut114@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.321-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470296721.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.