Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันเฉลิม โปราen_US
dc.contributor.authorสิวะรัฐ ลิมปพยอมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:22:26Z
dc.date.available2015-06-24T06:22:26Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42909
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอ การพัฒนาคลังโปรแกรมชั้นโปรแกรมประยุกต์ดีแอลเอ็มเอส/โคเซม (DLMS/COSEM) เพื่อใช้เป็นโพรโทคอลในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลกับมาตรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในระบบกริดอัจฉริยะ นอกจากนี้ได้พัฒนาต้นแบบของอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล บนมาตรฐานดีแอลเอ็มเอส/โคเซม เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างมาตรอัจฉริยะกับระบบกลาง และจำลองระบบสื่อสารระหว่างมาตรอัจฉริยะสามเครื่องกับระบบกลาง ผ่านต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อทดสอบการทำงานของต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสื่อสารระหว่างต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล และมาตรอัจฉริยะจำลองใช้โพรโทคอลดีแอลเอ็มเอส/โคเซม บนตัวกลางของการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้าส่งกำลัง ตามมาตรฐานไพร์ม (PRIME) ในส่วนการสื่อสารระหว่างต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล กับระบบกลางจำลองนั้น ใช้การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลเอกซ์เอ็มแอล (XML) ที่ข้อมูลภายในเข้ารหัสโดยใช้มาตรฐานดีแอลเอ็มเอสเป็นต้นแบบ ผ่านโพรโทคอลถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลแบบปลอดภัยผ่านอินเทอร์เน็ต (SFTP) บนทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลถูกสร้างโดยใช้บอร์ด BeagleBoard-XM เป็นแกนหลัก บอร์ดนี้ใช้ตัวประมวลกลางที่มีสถาปัตยกรรมแบบ ARM Cortex A8 พร้อมทั้งรองรับการทำงานของระบบปฏิบัติการอูบันตู และเชื่อมต่อกับโมเด็มการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้าส่งกำลัง รวมถึงโมเด็มการสื่อสารแบบยูเอ็มทีเอส (UMTS Modem) ผ่านพอร์ตยูเอสบี (USB) ของตัวบอร์ดได้ มาตรอัจฉริยะถูกจำลองอยู่บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ต่อกับโมเด็มการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้าส่งกำลัง และระบบกลางถูกจำลองอยู่บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ต่อกับสายแลน หรือแลนไร้สายเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เมื่อทำการทดสอบระบบจำลองพบว่าการสื่อสารระหว่างระบบกลาง กับมาตรอัจฉริยะผ่านต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียกใช้บริการของคำสั่งต่างๆ จากคลังโปรแกรมชั้นประยุกต์ดีแอลเอ็มเอส/โคเซมนั้น สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณทางไฟฟ้าที่ต้องการได้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลแรงดันไฟฟ้า โพรไฟล์ภาระ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นำคลังโปรแกรมชั้นโปรแกรมประยุกต์ดีแอลเอ็มเอส/โคเซม ไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่ออ่านค่าโพรไฟล์ต่างๆ ภายในมาตรอัจฉริยะที่ใช้จริงในอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานดีแอลเอ็มเอส/โคเซม ได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ จึงสรุปได้ว่าคลังโปรแกรมชั้นโปรแกรมประยุกต์นั้นสามารถใช้งานได้จริงen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis proposes a development of a DLMS/COSEM program library. The library provides services of the DLMS/COSEM command for communication between a data concentrator unit (DCU) and a smart meter. Both of them are the devices in the smart grid system. In addition, a prototype data concentrator unit (DCU) conformed to the DLMS/COSEM standard is also developed. It is used as a representative between smart meters and a central system (CS) in communication. Moreover, a system which simulates the communication of these devices is designed as well for testing the functionality of the prototype. The devices of the system consist of a simulated CS, a prototype DCU, and three simulated smart meters. The Application Protocol Data Units (APDUs) of the communication between smart meters and a DCU are encoded conformably to the DLMS/COSEM standard and they are transferred via Power Line Communication (PLC) conformed to the PRIME standard. The encoded data of the communication between a DCU and a CS is adapted appropriately from the DLMS/COSEM standard. In addition, it is contained in an XML file which is sent through a SFTP on a TCP/IP Protocol. A BeagleBoard-XM board is used as a core of the prototype DCU. This board is powered by ARM Cortex A8; moreover, it supports an Ubuntu operating system. For the sake of communication, a PLC modem and an UMTS/HSPDA modem can be attached to USB ports of the board. The smart meters are emulated on a PC which is plugged into a PLC modem. Similarly, the CS is emulated on another PC which is connected a LAN cable or a wireless LAN hotpot. The results of the simulated system show that the exchanged data, such as a measured voltage, and stored load profiles can be transferred successfully and correctly between those devices by calling the DLMS/COSEM services that are provided by the developed library. Furthermore, the library is also deployed to develop a program application for reading profiles stored in industrial smart meters conformed to the DLMS/COSEM standard. To sum up, the library can be used to communicate to the smart meters conformed to the DLMS/COSEM standard completely and the simulated system can work functionally.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.378-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบบปฏิบัติการ (คอมพิวเตอร์)
dc.subjectการเขียนโปรแกรม (คอมพิวเตอร์)
dc.subjectOperating systems (Computers)
dc.subjectComputer programming
dc.titleการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลบนมาตรฐานดีแอลเอ็มเอสและไพร์มen_US
dc.title.alternativeA DEVELOPMENT OF A PROTOTYPE DATA CONCENTRATOR UNIT CONFORMED TO DLMS AND PRIME PROTOCOLSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwanchalerm.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.378-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470490021.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.