Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42915
Title: ผลของบรรยากาศในการแคลไซน์ต่อตัวเร่งปฏิกิริยาแกมมาอะลูมินาสำหรับปฏิกิริยาการขจัดน้ำของเอทานอล
Other Titles: EFFECT OF CALCINATION ATMOSPHERE ON Y-ALUMINA CATALYST FOR ETHANOL DEHYDRATION
Authors: ฉัตราพร ทับสาร
Advisors: บรรเจิด จงสมจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bunjerd.J@chula.ac.th
Subjects: อะลูมินัมออกไซด์
กระบวนการทางเคมี
Aluminum oxide
Chemical processes
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการสังเคราะห์อะลูมินาและเคลือบฝังเหล็กบนอะลูมินาในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก(Fe = 10%) จากโบไมต์ โดยการแคลไซน์ในบรรยากาศต่าง ๆ (N2, H2, O2และอากาศ) ที่อุณหภูมิ 600 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เพื่อทดสอบในปฏิกิริยาการขจัดน้ำจากเอทานอลในช่วงอุณหภูมิการทำปฏิกิริยา 200 ถึง 400 oC ที่ความดันบรรยากาศ พบว่าการแคลไซน์ภายใต้บรรยากาศต่าง ๆ ส่งผลถึงคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาอะลูมินา โดยการทดสอบคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค XRD, BET, FTIR, NH3-TPDและSEM พบว่าโครงสร้างผลึกของอะลูมินาที่ แคลไซด์ภายใต้ อากาศ และ ไนโตรเจนให้ลักษณะผลึกที่เหมือนกัน แต่ ภายใต้ ออกซิเจน และ ไฮโดรเจนจะแตกต่างออกไป ประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาแกมมาอะลูมินาที่ได้จากการแคลไซน์ในบรรยากาศต่าง ๆทำการศึกษาในปฏิกิริยาการขจัดน้ำจากเอทานอล โดยใช้ก๊าซโครมาโทกราฟีในการวิเคราะห์สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์พบว่าร้อยละการเปลี่ยนของเอทานอลเรียงตามลำดับดังนี้ Al2O3,Air(100%)= Al2O3,H2(100%)> Al2O3,N2(94.9%)> Al2O3,O2(89.5%) และร้อยละการเลือกเกิดของเอทิลีนเรียงตามลำดับดังนี้ Al2O3,O2(88.8%)> Al2O3,Air(75.9%)> Al2O3,H2(74.9%)> Al2O3,N2(65.73%)ส่วนการเคลือบฝังเหล็กบนอะลูมินาส่งผลต่อร้อยละการเปลี่ยนของเอทานอลสูงขึ้นที่ช่วงอุณหภูมิต่ำ 200 – 250 oC แต่ร้อยละการเลือกเกิดของเอทิลีนลดลงเนื่องจากค่าความเป็นกรดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อปฏิกิริยาข้างเคียงทำให้เกิดเป็นอะซีตัลดีไฮด์มากขึ้น
Other Abstract: In this study, alumina and iron-modified alumina catalysts having 10 wt% of Fe were synthesized by varying the calcination atmosphere condition (using N2, H2, O2 and air) at 600 oC for 6 h and tested in ethanol dehydration reaction using the reaction temperature between 200 – 400 oC at atmospheric pressure. The characteristics of catalysts were investigated by XRD, BET, FTIR, NH3-TPD and SEM. It was found that the alumina calcined in air and N2 showed similar XRD patterns, but those for the alumina calcined in O2 and H2 were different. The results of ethanol dehydration reaction using GC analysis to detect reactant and products were analyzed. It revealed that the ethanol conversion of Al2O3,Air(100%)= Al2O3,H2(100%)> Al2O3,N2(94.9%)> Al2O3,O2(89.5%) and the ethylene selectivity of Al2O3,O2(88.8%)> Al2O3,Air(75.9%)> Al2O3,H2(74.9%)> Al2O3,N2(65.73%). The modification of Fe onto alumina catalysts apparently affected on the ethanol conversion that was found to increase at low reaction temperature in the range between 200 – 250 oC. However, the ethylene selectivity decreased with Fe modification probably because strong acid and/or metal sites introduced side reaction to form acetaldehyde via dehydrogenation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42915
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.384
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.384
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470919021.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.