Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42938
Title: ASSOCIATION OF MATERNAL KNOWLEDGE AND HEALTH SERVICE TO IMMUNIZATION STATUS OF MYANMAY MIGRANT CHILDREN AGED 1-2 YESRS IN TAK PROVINCE THAILAND
Other Titles: ความสัมพันธ์ความรู้มารดาและบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กแรงงานข้ามชาติจากพม่า อายุ ๑-๒ ปี จังหวัดตาก ประเทศไทย
Authors: Daraporn Prakunwisit
Advisors: Chitlada Areesantichai
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: mchitlada@hotmail.com
Subjects: Immunology
Health counseling
Vaccines
วิทยาภูมิคุ้มกัน
การแนะแนวสุขภาพ
วัคซีน
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Immunization is one of the most powerful and cost effective protections in child survival technology. According to Tak Provincial Health Office data, the total migrant was approximately 200,000 living in four Thai-Myanmar border districts that could not fully access to health services and presented lower than global Expand Program on Immunization (EPI) standard coverage (90%) as well as reporting of vaccine preventable disease. To improve immunization coverage and service in these context, the study aimed to describe the association of maternal knowledge and health services of Myanmar migrant children aged 1-2 years in Tak and determine the coverage of under 1 year routine immunization (BCG , HBV, OPV,DTP and MCV (MMR) including the coverage of each type of the vaccines. A study was conducted by using a structured questionnaire and interviewed 386 Myanmar migrant mothers living in four Thai – Myanmar border district. The result found that district, occupation, place of delivery, level of knowledge regarding immunization, source of information, content of information, language barrier of receiving information, health education and its content during immunization service were significantly associate (p<0.05) with immunization status of children. The overall coverage of under 1 year routine immunization was 56.7% ; by types of vaccine BCG, HBV at birth , first , second and third dose of OPV/DTP/HBV combine vaccine and MMR were 98.4%, 82.9%, 95.1%, 82.4%, 68.4%, 66.1% which is lower compared to immunization coverage of Thailand. The overall EPI coverage among Myanmar migrant age 1-2 years living in the study area still lower than global EPI standard coverage especially OPV3/DTP3/HBV3 and MMR. Knowledge regarding vaccine side effect and content in local migrant language should be introduced. Local service providers and private agencies need to aware of appropriate approach and services to differences characteristic in order to strengthen EPI program.
Other Abstract: ปัจจุบันการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กเล็กนับเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพและป้องกันการเสียชีวิตของเด็กจากโรคที่ป้องกันได้โดยวัคซีน ข้อมูลประชากรต่างชาติโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก 2554 พบว่ามีประชากรต่างชาติประมาณ 2 แสนคน อาศัยอยู่ใน 4 อำเภอชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทยและพม่า ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง มีความครอบคลุมความของการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานที่ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 90) ทั้งยังมีอุบัติการณ์ของโรคที่ป้องกันได้โดยวัคซีน เช่น หัด และ คอตีบ ในกลุ่มประชากรดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มความครอบคลุมความของการรับวัคซีนขั้นพื้นฐาน และพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในพื้นที่ดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้มารดาและบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กแรงงานข้ามชาติจากพม่า อายุ 1-2 ปี จังหวัดตาก ประเทศไทย โดยได้ศึกษาร้อยละของความครอบคลุมวัคซีนพื้นฐาน 5 ชนิดคือ BCG HBV OPV DTP และ MCV (MMR) ทั้งภาพรวมและแยกตามชนิดของวัคซีน โดยวิธีภาคตัดขวางและการเลือกแบบสุ่ม เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ข้อมูลทางสังคมและประชากรศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับการรับวัคซีนพื้นฐาน การให้บริการวัคซีนขั้นพื้นฐาน และความครอบคลุมของการรับวัคซีนขั้นพื้นฐาน อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้คือมารดาแรงงานข้ามชาติจากพม่าในพื้นที่ 4 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก จำนวน 386 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและแปลผลความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความครบของการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กแรงงานข้ามชาติจากพม่าอายุ 1-2 ปี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ อำเภอที่อาศัย ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน อาชีพของมารดา ศาสนา สถานที่ที่มารดาคลอดเด็ก ระดับความรู้ของมารดาเกี่ยวกับวัคซีนขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลและเนื้อหา อุปสรรคทางภาษาในการรับข้อมูล การได้รับสุขศึกษาและเนื้อหาขณะรับบริการ และระยะทางที่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ให้บริการ ร้อยละความครอบคลุมภาพรวมของการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กแรงงานข้ามชาติจากพม่าอายุ 1-2 ปี คือ 56.7 ส่วนร้อยละความครอบคลุมในการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานแต่ละชนิด คือ BCG 98.4 HBV 82.9 OPV1 /DTP1/HBV1 95.1 OPV2 /DTP2/HBV2 82.4 OPV3 /DTP3/HBV3 68.4 และ MMR 66.1 ผลการศึกษาพบว่าร้อยละของความครอบคลุมในการรับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กแรงงานข้ามชาติจากพม่ายังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะ OPV3 /DTP3/HBV3 และ MMR การให้ความรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนพื้นฐานโดยภาษาท้องท้องถิ่น การพัฒนาระบบการให้บริการ ร่วมกันของสถานบริการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในประชากรแรงงานข้ามชาติในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในบริบทของพื้นที่ที่ทำการศึกษาในครั้งนี้
Description: Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42938
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.404
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.404
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478820053.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.