Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขนบพร วัฒนสุขชัยen_US
dc.contributor.authorสุมิตรา อุ่นเปียen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:04Z
dc.date.available2015-06-24T06:23:04Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42982
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์ที่มีต่อความสามารถในการปั้นของเด็กอายุ 9-11 ปี เป็นการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้แนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นสะท้อนการเคลื่อนไหว ขั้นพื้นฐานการเคลื่อนไหว ขั้นการรับรู้ ขั้นการปฏิบัติกิจกรรม ขั้นทักษะการเคลื่อนไหว และขั้นปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมชาติ สมมติฐานของการวิจัย คือ เด็กที่ทำกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์จะมีความสามารถในการปั้นสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กอายุ 9-11 ปี จำนวน 20 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนราชินีบน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถในการปั้น 2) แบบประเมินการจัดกิจกรรมศิลปะ ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของแฮร์โรว์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถในการปั้นของเด็ก 9-11 ปี หลังทำกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์สูงกว่าก่อนทำกิจกรรมศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) เมื่อทำกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์แล้วพบว่า เด็กมีทักษะสูงสุดในขั้นพื้นฐานการเคลื่อนไหว (x ̅ = 5.00) 3) พฤติกรรมที่ปรากฏระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะมากที่สุด คือ พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นเกี่ยวกับอารมณ์ ได้แก่ การแสดงให้เห็นถึงความสนใจ กระตือรือร้น (x ̅ = 4.97) และ 4) เด็กมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.74) โดยต้องการปั้นคน สัตว์ และสิ่งของที่ประกอบเป็นเรื่องราว เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือสถานที่สำคัญต่างๆ และการจัดกิจกรรมปั้นทำให้เด็กเกิดความสนใจในการวาดภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่พบเพิ่มเติม คือ เด็กมีการวาดภาพเปรียบเทียบกับการปั้น มีการปั้นในลักษณะของการแก้ปัญหา มีการปั้นโครงสร้างและตกแต่งฐานของชิ้นงานเพื่อให้สามารถตั้งผลงานได้อย่างมั่นคงแข็งแรง มีการตกแต่งรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกบนใบหน้าคน มีการแสดงให้เห็นเกี่ยวกับลักษณะของอารมณ์ ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบต่างๆ และแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปั้นด้านต่างๆได้อย่างสมบูรณ์en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the effects of art activities management towards Harrow’s theory on abilities of clay modeling of children aged 9-11 years old. The art activities managed by using psychomotor of Harrow’s theory 6 stages from reflex movements, basic fundamental movement, abilities, physical abilities, skilled movements, and non-discursive communication. The hypothesis of this research was that, after the teaching of art abilities management towards Harrow’s theory, the children’s clay modeling abilities will be higher than before at the significance level of .05. The purposive sampling was 20 children aged 9-11 years old from Rajinibon School. The research instruments were 1) the criteria of clay modeling abilities 2) the criteria of art activities management which based on Harrow’s theory 3) the observation form 4) the questionnaire of art activities for children of art activities management towards Harrow’s theory. Data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The result found that 1) children’s abilities of clay modeling were highest abilities than before after participated in art activities at a significant level 0.05 2) children had the highest abilities in the basic fundamental movement at the highest level (x ̅ = 4.92) 3) children show emotional behavior such as interested in clay modeling activities, and enthusiastic to do activities (x ̅ = 4.97) 4) children satisfied art activities at the highest level (x ̅ = 4.74) and would like to model human, animals, and other things to illustrate story, event, or an important places. In addition, there are an increasing number of children interested in drawing. Moreover, the observation show the details as follows; children compared drawing and modeling, modeling with problem solving skills, modeling with structure and decorated clay modeling base for concrete and strong, decorated details of emotional and feeling on human face, modeling with emotional movement and shown abilities of modeling skills perfectly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.452-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectศิลปะ -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectศิลปะ -- การทดสอบความสามารถ
dc.subjectActivity programs in education
dc.subjectArts -- Study and teaching
dc.subjectArts -- Ability testing
dc.titleผลการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์ที่มีต่อความสามารถในการปั้นของเด็กอายุ 9-11 ปีen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF ART ACTIVITIES MANAGEMENT TOWARDS HARROW'S THEORY ON ABILITIES OF CLAY MODELING OF CHILDREN AGED 9-11 YEARS OLDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkhanbbhorn.w@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.452-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483454727.pdf7.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.