Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42994
Title: อิทธิพลของภาวะผู้นำที่แท้จริงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยมีการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครูเป็นตัวแปรส่งผ่านและขนาดโรงเรียนเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยแบบผสมวิธี
Other Titles: EFFECTS OF AUTHENTIC LEADERSHIP ON STUDENTS’ LEARNING ACHIEVEMENT WITH TEACHER ACADEMIC OPTIMISM AND TEACHER ENGAGEMENT AS THE MEDIATORS AND SCHOOL SIZE AS THE MODERATOR: MIXED METHODS RESEARCH
Authors: ธีรภัทร กุโลภาส
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: auyporn.r@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษา -- วิจัย
ผู้บริหารโรงเรียน -- ทัศนคติ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Education -- Research
School administrators -- Attitudes
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารโรงเรียน การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครู ความยึดมั่นผูกพันของครู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวแปรเชิงสาเหตุ การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวแปรเชิงสาเหตุ การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน ระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน และ 4) วิเคราะห์บทบาทของภาวะผู้นำที่แท้จริงที่มีต่อการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการของครู ความยึดมั่นผูกพันของครู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย โดยออกแบบการวิจัยด้วยวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (mixed methods research) แบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ (explanatory sequential design) (Creswell & Clark, 2011) โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้ข้อมูลคุณภาพเพื่อขยายผลในเชิงลึก ในระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างเป็นครูระดับประถมศึกษา จำนวน 605 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ t-test ANOVA MANOVA การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ในระยะที่ 2 การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา 2 โรงเรียน ที่คัดเลือกมาจากตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียนจากโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีค่าเฉลี่ยของภาวะผู้นำที่แท้จริงไม่แตกต่างกัน ครูที่มาจากโรงเรียนขนาดต่างกันมีค่าเฉลี่ยของการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครูไม่แตกต่างกัน และโรงเรียนขนาดต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไม่แตกต่างกัน 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวแปรเชิงสาเหตุ การมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครู เป็นตัวแปรส่งผ่าน ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 53.976; df = 39; P = .0558, GFI = .984, AGFI = .973, RMR = .0348) ตัวแปรอิสระในโมเดลทั้ง 3 ตัวแปรอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ร้อยละ 3.9 และพบว่า ภาวะผู้นำที่แท้จริงส่งอิทธิพลไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยผ่านการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการ และความยึดมั่นผูกพันของครูไม่มีอิทธิพลส่งผ่าน 3) ไม่พบอิทธิพลการปรับของขนาดโรงเรียน เนื่องจากโมเดลสมมุติฐานวิจัยที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบโมเดล ค่าพารามิเตอร์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรแฝงภายนอกไปยังตัวแปรแฝงภายใน (GA) และค่าพารามิเตอร์ของอิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายใน (BE) และ 4) ผู้บริหารโรงเรียนที่มีภาวะผู้นำที่แท้จริงสามารถใช้ภาวะผู้นำที่แท้จริงของตนในการสร้างบรรยากาศการทำงานในโรงเรียน ที่เอื้อต่อการพัฒนาการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครู มากกว่าการเน้นวิชาการโดยตรง โดยครูที่มีการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการสูงทำตนเป็นตัวอย่างในการพัฒนาตนเองให้กับนักเรียน และร่วมมือกับผู้ปกครองและนักเรียน ในการแก้ปัญหาทางการเรียนของนักเรียน แต่ปัญหาการขาดครูเป็นอุปสรรคที่ทำให้ครูมีภาระหน้าที่มากขึ้น และมีเวลาในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนน้อยลง ทำให้ครูที่มีความยึดมั่นผูกพันสูงอาจไม่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้
Other Abstract: The aims of this research were to 1) compare mean differences of principals’ authentic leadership, teachers’ academic optimism and teachers’ engagement between school sizes 2) develop and validate the causal model concerning effects of authentic leadership on students’ learning achievement with teachers’ academic optimism and engagement as mediators 3) test the invariance of the hypothetical model between school sizes and 4) explain the role of authentic leadership in influencing teachers’ academic optimism and engagement and student achievements. This study used descriptive research methods with mixed methods research. An explanatory sequential design was applied (Creswell & Clark, 2011) and the main focus was on the first, quantitative phase whereas the qualitative phase was conducted to explain the quantitative results. The multi-stage samples consisted of 605 elementary school teachers under office of the Basic Education Commission (OBEC). The instrument used was a questionnaire. Data analysis was composed of descriptive statistics, t-test, ANOVA, MANOVA analysis using SPSS, structural equation modeling and multigroup analysis using LISREL. Phase 2 study was qualitative data collection and analysis using case study method with semi-structured interviews. Two schools selected as cases were taken from the samples used in phase 1 study. The major findings are summarized as follows: 1) no significant differences of principals’ authentic leadership, teachers’ academic optimism and teachers’ engagement were found between school sizes 2) the hypothetical model fitted to the empirical data (chi-square = 53.976; df = 39; P = .0558, GFI = .984, AGFI = .973, RMR = .0348) and 3.9 percent of student achievement’s variance could be explained collectively by the three independent variables. The results showed that the relationship between authentic leadership and students’ learning achievement was fully mediated by teachers’ academic optimism whereas teachers’ engagement had no impact on students’ outcomes 3) no moderating effects of school size was found since the hypothetical model was invariant in terms of model form, causal effects between exogenous latent variable and latent endogenous variables (GA) and causal effects among latent endogenous variables (BE) and 4) a principal with authentic leadership put emphasis on creating a positive working environment for teachers and nurturing their academic optimism and work engagement instead of directly involving with teaching. A teacher with high academic optimism set oneself as an example for students to learn and sought support from parents to improve students’ academic performances. However, administrative and non-academic workloads could prevent a highly engaged teacher from giving necessary academic support for students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42994
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.463
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.463
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484214627.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.