Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43005
Title: เว็บไซต์ยูทูบ(ภาษาไทย)กับการสื่อสารความเกลียดชัง
Other Titles: WWW.YOUTUBE.COM(THAI LANGUAGE) AND HATE SPEECH
Authors: มัทนา นันตา
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: สื่อสังคมออนไลน์
การสื่อสาร -- แง่สังคม
ความเกลียดชัง
Social media
Communication -- Social aspects
Aversion, Hate
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1)เพื่อศึกษาคุณลักษณะของเว็บไซต์ยูทูบในฐานะสื่อสังคมออนไลน์ที่ ส่งผลต่อการผลิตและการแพร่กระจายการสื่อสารความเกลียดชังในบริบทออนไลน์ 2)เพื่อสำรวจสถานการณ์การสื่อสารความเกลียดชังบนฐานความเกลียดชังเรื่องการเมืองและศาสนา/ลัทธิความเชื่อในยูทูบ 3)เพื่อทำความเข้าใจทัศนะของผู้เข้าข่ายเป็นกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารความเกลียดชังบนฐานความเกลียดชังเรื่องการเมืองและศาสนา/ลัทธิความเชื่อในเว็บไซต์ยูทูบและ 4)เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ที่มีส่วนบ่มเพาะการสื่อสารความเกลียดชังบนฐานความเกลียดชังเรื่องการเมืองและศาสนา/ลัทธิความเชื่อในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า การผลิตและการแพร่กระจายข้อมูลบนเว็บไซต์สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ประเด็นการโจมตีหลักของฐานความเกลียดชังเรื่องการเมือง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทยและระบอบทักษิณ ประเด็นการโจมตีคือเรื่องความไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ , ดูถูกเหยียดหยามว่ากลุ่มคนเสื้อแดงโง่ , โจมตีว่าเป็นกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงในการชุมนุม และกลุ่มคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามเสื้อแดง และพรรคประชาธิปปัตย์ จะถูกโจมตีว่าคลั่งเจ้า , โจมตีว่าเป็นฆาตรกรประชาชน , โจมตีว่ามีการกระทำสองมาตรฐานเอาเปรียบประชาชน ในส่วนของฐานความเกลียดชังเรื่องศาสนา/ลัทธิความเชื่อพบประเด็นการโจมตีศาสดาและหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ดูถูกเหยียดหยามวิถีปฏิบัติของชาวมุสลิมและเหมารวมบนฐานอคติว่าชาวมุสลิมเป็นกลุ่มบุคคลที่นิยมการใช้ความรุนแรง การวิเคราะห์เนื้อหาในเว็บไซต์ยูทูบพบคลิปวิดีโอที่มีระดับความร้ายแรง รูปแบบการสื่อสารความเกลียดชัง และกลยุทธ์การสื่อสารความเกลียดชังในระดับและรูปแบบที่แตกต่างกัน ผลการสัมภาษณ์ พบว่าการสื่อสารความเกลียดชังที่ปรากฏในเว็บไซต์ยูทูบ หรือแม้กระทั่ง สื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ โดยตัวของมันเองไม่ได้มีพลังมากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่รับชมเนื้อหาที่เป็นการสื่อสารความเกลียดชังลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมายที่ถูกโจมตี เพราะ ความน่าเชื่อถือของสื่ออินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตในสังคมไทย และสื่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นสื่อประเภทเดียวที่คนในสังคมเปิดรับ รวมถึงบริบทของสังคมไทย ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา สันติวิธีและ สื่อใหม่พบว่า บริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ที่มีส่วนบ่มเพาะการสื่อสารความเกลียดชังบนฐานความเกลียดชังเรื่องการเมือง คือ ความคิดกระแสหลักเกี่ยวกับความเป็นไทย (Mainstream Thought on “Thainess”) ขณะที่เรื่องศาสนา คือ 1) ความเข้าใจแบบเหมารวมเกี่ยวกับศาสนาอิสลามตั้งแต่อดีต 2) การสร้างภาพมุสลิมในฐานะศัตรูของโลกตะวันตก 3)กระแสความหวาดกลัวศาสนาอิสลาม (Islamophobia) ในโลกตะวันตก 4)สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5)ความคิดกระแสหลักเกี่ยวกับความเป็นไทย (Mainstream Thought on “Thainess”)
Other Abstract: This research has the following objectives: to study the technological attributes of Youtube that may affect the production and dissemination of hate speech in the online sphere; to explore the situation of online hate speech in the areas of politics, religion, and belief systems; and to seek the attitudes of those who may fall into the target groups of hate speech in the areas mentioned; and to study the socio-historical context that may incubate hate speech in these areas. The research finds that content production on Youtube offer high flexibility in terms of speed, meshing of content in multimedia form, replicability and usability of content across different media platforms. Meanwhile, Youtube content is also easily searchable, retrievable, and accessible through search engine mechanism and network compatible devices, while having long sustenance for constant access and views. Based on the political content in the studied clips, two targets groups or basis of hate could be delineated: 1) the targets from two opposing fronts – the red-shirted camp which consists of the UDD, the Puea Thai Party, and supporters of former prime minister Thaksin Shinawatra and the anti-red-shirted camp which consists of the Democrat Party, and those who hold hostile views against the elements in the red-shirted camp. The main points of attack for the former are disloyalty to the monarchy, contemptuous stupidity, inclination to violence while the points of attack for the latter usually revolve around blind fanaticism of the monarchy, the alleged use of violence against protesters, and tendency towards practicing double standard. As for the religious content in the studied clips, the main targets are Muslims with the main basis of hate revolving around Islamic teachings, lifestyle, and usual stereotypes about the traits towards violence. According to the results from the content analysis, the study finds a range of severity of hate speech. , The mode of communicating hate via the Youtube website. ,The strategy in creating hate speech. As for the in-depth interviews, the study finds that interview subjects who are usual targets of hate feel that hate speech on youtube does not necessarily lead to physical violence. In addition, the interview results with experts in the mentioned field find that socio-historical context which may have contributed to fostering political hate speech are: mainstream thought on “Thainess. Meanwhile, those that may have contributed to the spread of religious hate speech are 1) does not necessarily, 2) an image of Islamization as an enemy of the West, 3) Islamophobia in the Western World, 4) Insurgency crisis in the three Southernmost provinces, and 5) Mainstream thought on “Thainess.”
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43005
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.471
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.471
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484688428.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.