Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43029
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธา ขาวเธียรen_US
dc.contributor.authorพิชิตา เอกเผ่าพันธุ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:31Z
dc.date.available2015-06-24T06:23:31Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43029
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractปัจจุบันเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานที่ได้รับความสนใจอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งเชื้อเพลิงชีวภาพผลิตมาจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ โดยปกติน้ำมันพืชมีค่าความหนืดสูง ซึ่งก่อนนำไปใช้ในเครื่องยนต์ต้องลดความหนืดเสียก่อน กระบวนการในการลดความหนืดของน้ำมันพืชมีหลายวิธี ไมโครอิมัลชันเป็นวิธีการหนึ่ง โดยไมโครอิมัลชันคือการผสมของเหลวสองชนิดที่ไม่สามารถรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ (น้ำมันและน้ำ) ให้กลายเป็นเนื้อเดียวกันและมีความเสถียร โดยใช้สารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วม โดยงานวิจัยนี้ศึกษาการประเมินวัฎจักรชีวิตของเชื้อเพลิงชีวภาพจากกระบวนการไมโครอิมัลชัน 2 สัดส่วนคือที่น้ำมันร้อยละ 50 และ 60 และทำการเปรียบเทียบกับไบโอดีเซลที่ได้จากกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน 2 สัดส่วนคือ B100 และ B70 การประเมินวัฏจักรชีวิตจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการปลูกปาล์ม ขั้นตอนการผลิตน้ำมันปาล์มโอเลอิน และขั้นตอนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไมโครอิมัลชันและทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน) เพื่อประเมินก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาในขอบเขตของการได้มาซึ่งวัตถุดิบจนเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต ผลการวิจัยพบว่าก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตด้วยกระบวนการไมโครอิมัลชันเท่ากับ 0.8118 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตรเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ 0.0257 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเมกะจูลเชื้อเพลิงชีวภาพ และ 0.8435 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตรเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ 0.0253 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเมกะจูลเชื้อเพลิงชีวภาพ สำหรับสัดส่วนน้ำมันร้อยละ 50 และ 60 ตามลำดับ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากไบโอดีเซลที่ผลิตด้วยกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันเท่ากับ 2.6789 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตรไบโอดีเซล หรือ 0.0772 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเมกะจูลไบโอดีเซล และ 1.9848 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตรไบโอดีเซล หรือ 0.0549 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเมกะจูลไบโอดีเซล ผลสรุปของงานวิจัยนี้พบว่าเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากกระบวนการไมโครอิมัลชันปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าไบโอดีเซลที่ผลิตจากกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันทั้งสองสัดส่วนen_US
dc.description.abstractalternativeNowaday biofuel is an interesting alternative fuel in Thailand. It can be produced from vegetable oils or animal fats. Typical vegetable oils have high viscosity which has to be reduced before it is used in standard engines. Process for reducing viscosity of vegetable oil has many processes, microemulsion is one of processes. Microemulsion process is defined as mixture of two immiscible liquids (oil and water) to form homogenous and stable solution stabilized by surfactant(s) or combination of surfactant(s). This study investigated the life cycle assessment (LCA) for the production of biofuel by microemulsification (oil 50% and oil 60%) technique and compared with the LCA of the productions of biodiesel (B100 and B70) by transesterificaion technique. The LCA system boundary was separated into three stages: the oil palm cultivation, palm olein production and biofuel (microemulsion/ transesterification) production for the evaluation of cradle to gate approach. The results showed that GHGs are 0.8118 kg CO2 eq/L or 0.0257 kg CO2 eq/MJ and 0.8435 kg CO2 eq/L or 0.0253 kg CO2 eq/MJ for microemulsion fuel which contain oil 50% and 60%, respectively. And that GHGs are 2.6789 kg CO2 eq/L or 0.0772 kg CO2 eq/MJ and 1.9848 kg CO2 eq/L or 0.0549 kg CO2 eq/MJ for transesterification biodiesel which are B100 and B70, respectively. The discussions of this study that GHGs form microeulsion biofuel less than transesterification biodiesel.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.497-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลังงานชีวมวล
dc.subjectสารลดแรงตึงผิว
dc.subjectก๊าซเรือนกระจก
dc.subjectBiomass energy
dc.subjectSurface active agents
dc.subjectGreenhouse gases
dc.titleการประเมินวัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิงชีวภาพจากกระบวนการไมโครอิมัลชันen_US
dc.title.alternativeLIFE CYCLE ASSESSMENT OF BIOFUEL FROM MICROEMULSION PROCESSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsutha.k@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.497-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570317321.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.