Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43030
Title: การลดของเสียจากข้อบกพร่องเส้นด้ายเป็นขนในกระบวนการดึงยืดเส้นด้าย
Other Titles: DEFECTIVE REDUCTION FROM BROKEN FILAMENT DEFECT IN DIRECT SPIN DRAW PROCESS
Authors: ภารินี แก้วสม
Advisors: นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: napassavong.o@chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานผลิต
การผลิตแบบลีน
Production management
Lean manufacturing
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการสำหรับลดสัดส่วนของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทเส้นด้ายเป็นขนในกระบวนการผลิตดึงยืดเส้นด้าย โดยนำแนวคิดซิกซ์ ซิกม่ามาทำการประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งข้อบกพร่องประเภทเส้นด้ายเป็นขนมีของเสีย 3.35% ของปริมาณการผลิต มีผลทำให้เกิดความสูญเสียเป็นเงิน 585,486 บาทต่อปีในเครื่องจักรที่ทำการศึกษา งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการลดสัดส่วนของเสียลง 50% การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามแนวคิดของซิกซ์ ซิกม่า เริ่มจากระยะของการนิยามปัญหาได้ทำศึกษากระบวนการและสภาพของปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและขอบเขตของการทำการปรับปรุง ถัดมาเข้าสู่ระยะการวัดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ได้ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการวัดมีความถูกต้องและแม่นยำ ทำการระดมสมองเพื่อหาปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อการเกิดข้อบกพร่องเส้นด้ายเป็นขนด้วยตารางแสดงความสัมพันธ์สาเหตุและผลและการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ จากนั้นในระยะของการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้นำปัจจัยที่ถูกเลือกมาทำการวิเคราะห์และทำการทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยวิธีทางสถิติเพื่อหาแนวทางการปรับปรุง จากนั้นทำการปรับปรุงด้วยการหาค่าที่เหมาะสมให้กับแต่ละปัจจัยโดยการออกแบบการทดลอง จากนั้นทำการทดสอบยืนยันผลและทำการกำหนดแผนควบคุมเพื่อติดตามควบคุมปัจจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานหลังการปรับปรุง ผลหลังจากทำการปรับปรุง พบว่าสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องประเภทเส้นด้ายเป็นขนลดลงจาก 3.35% เหลือ 1.47% หรือลดลงถึง 56.1% คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่ลดลงได้ 293,632 บาทต่อปีสำหรับเครื่องจักรที่ทำการศึกษา
Other Abstract: This thesis presents the methodology to reduce the defective rate from broken filament defect of yarn in the Direct Spin Draw process. The Six Sigma approach was applied to improve this process. The defective rate from broken filament defects was 3.35% of the production volume. It led to the loss of 585,486 baht per year for the machine under the study. This thesis sets the goal to reduce 50% of the defective rate. This thesis consists of 5 stages based on the Six Sigma approach. First, in the define phase, problem statement, project objective, project scope were indentified. Second, in the measure phase, the measurement system was assessed for its precision and accuracy. Then, the potential causes of variation were brainstormed. After that, the key process input variables (KPIVs) were prioritized by using the Cause and Effect Matrix and the criteria of the Failure Mode and Effect Analysis (FMEA). Next, in the analysis phase, the causes with high priority were tested for the statistical significance by applying the fractional factorial experimental design. Then, in the improvement phase, the optimal levels of significant factors that yielded minimum defective rate were determined by the Response Surface Methodology. Then, confirmatory experiments were performed. Last, in the control phase, new control plan, standard operating procedure and work instruction were updated in order to control the process after improvement. As a result, the defective rate from broken filament defects decreased from 3.35% to 1.47% equivalent to 56.1% reduction. In addition, according to the production forecast, the improvement can possibly save the loss up to 293,632 baht per year for the machine under study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43030
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.509
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.509
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570329921.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.