Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิลปชัย สุวรรณธาดาen_US
dc.contributor.authorเตชภาส มากคงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:51Z
dc.date.available2015-06-24T06:23:51Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43069
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกไบโอฟีดแบคต่อความวิตกกังวลทางการกีฬา ความแปรปรวนของอัตราการบีบตัวของหัวใจ และ ความแม่นยำในการยิงในนักกีฬายิงปืนที่ได้รับการฝึกและไม่ได้รับการฝึกนี้ และยังศึกษาเปรียบเทียบผลในกลุ่มของก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักกีฬายิงปืนเยาวชนของโรงเรียนกีฬาในประเทศ อายุ 12-18 ปี กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคือให้โรงเรียนกีฬาจังหวัดตรังเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 16 คน และ โรง เรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 18 คน โดยในกลุ่มทดลองจะรับการฝึกการยิงปืนตาม ปกติทั่วไปควบคู่กับการฝึก Heart Rate Variability Biofeedback จะเป็นการฝึกทั้งหมด 12 ครั้ง สัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ โดยเวลาในการฝึก Heart Rate Variability Biofeedback จะใช้เวลาทั้งสิ้นครั้งละ 20 นาทีฝึกทุกวัน จันทร์ อังคาร พฤหัส และศุกร์ ส่วนในกลุ่มควบคุมจะทำเพียงแค่การฝึกการยิงปืนตามปกติทั่วไปโดยไม่มีการฝึกอื่นๆเพิ่มเติม โดยในจะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการฝึก 3 สัปดาห์ โดยจะทดสอบคะแนนความวิตกกังวลทางการกีฬาซึ่งวัดโดยแบบวัด CSAI-2R ความแปรปรวนของอัตราการบีบตัวของหัวใจและ ความแม่นยำในการยิงในนักกีฬายิงปืน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความแม่นยำในการยิงปืน ค่าช่วงคลื่นความถี่ต่ำ (Low Frequency, LF) และ ค่าช่วงคลื่นความถี่สูง (High Frequency, HF) ในกลุ่ม ระหว่างก่อนและหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ค่า LF และ ค่า HF ของกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคะแนนจากแบบวัดความวิตกกังวลตามสถานการณ์ฉบับปรับปรุงใหม่ (CSAI-2R) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติทั้งในการเปรียบเทียบก่อน และหลังการทดลองในทั้ง 2 กลุ่ม และ การเปรียบเทียบหลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า การฝึกไบโอฟีคแบคโดยใช้ความแปรปรวนของอัตราการบีบตัวของหัวใจสามารถช่วยเพิ่มค่าความแปรปรวนของหัวใจ และความแม่นยำในการยิงปืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนความวิตกกังวลทางการกีฬานั้นมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effect of heart rate variability biofeedback on anxiety and shooting accuracy in shooters This research used purposive sampling as to Trang Sport School was experimental group and Suphanburi Sport school was control group. All subjects were young shooters and performed pretest for shooting accuracy, heart rate variability and anxiety. A control group (n=18) performed only traditional shooting practice and an experimental group (n=16) performed traditional shooting practice combined with heart rate variability biofeedback protocol. The experimental group trained 4 days a week (Monday, Tuesday, Thursday and Friday) 20 minutes per day for 3 weeks. Then post test after training 3 weeks performed test same as pretest in both groups. the obtained data were analyzed in terms of mean and standard deviations. ANCOVA was used to analyze data in between experimental and control group before and after 3 weeks and compared data before and after 3 weeks training by dependent t-test in the same group. All means were statistically different at the significance level of 0.05. After 3 weeks, Experimental group had low frequency and high frequency in heart rate variability significantly better than control group at the level 0.05. Post test in experimental group had shooting accuracy, low frequency and high frequency in heart rate variability significantly better than pretest but anxiety score from Competitive State Anxiety Inventory-2 Revised (CSAI-2R) were not significant differences at the 0.05 level between groups and same group. Heart rate variability biofeedback enhanced heart rate variability and shooting accuracy significantly. Anxiety had tendency to decrease in somatic and cognitive anxieties and self-confidence may increase but all not significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.541-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการยิงปืน
dc.subjectกิจกรรมบำบัด
dc.subjectShooting
dc.subjectOccupational therapy
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกไบโอฟีดแบคที่มีต่อความวิตกกังวลและความแม่นยำในการยิงปืนของนักกีฬายิงปืนระดับมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF BIOFEEDBACK TRAINING PROGRAM ON ANXIETY AND SHOOTING ACCURACY OF SECONDARY SCHOOL SHOOTERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsilpachai.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.541-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578301739.pdf9.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.