Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43071
Title: การเปรียบเทียบปัจจัยทางสรีรวิทยาระหว่างนักกีฬาว่ายน้ำระยะสั้นและระยะกลาง
Other Titles: A COMPARISON OF PHYSIOLOGICAL FACTORS BETWEEN SHORT DISTANCE AND MEDIUM DISTANCE FREESTYLE SWIMMERS.
Authors: ภัทราพร ชัยสำเร็จ
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: tonchaipat@hotmail.com
Subjects: การว่ายน้ำ
นักกีฬา -- สรีรวิทยา
Swimming
Athletes -- Physiology
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยสรีรวิทยาของนักกีฬาว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ ระยะสั้นและระยะกลาง ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยสำรวจกึ่งทดลอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจงที่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ 36 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆละ 9 คน ตามเพศ (ชายและหญิง) และระยะ ทางในการว่าย (50 เมตรและ 400 เมตร) การวิจัยครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปรทางสรีรวิทยา ของนักกีฬาว่ายน้ำหลังนักกีฬาทำการ แข่งขันมา 1 สัปดาห์ ซึ่งตัวแปรประกอบด้วย น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณ ข้อศอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า ปริมาตรการหายใจ สูงสุด(FVC) ค่า FEV1 สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) สมรรถภาพการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ (VCO2) สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้า (AT) สมรรถภาพการใช้ระบบพลังงานแบบแอนแอโรบิค ดัชนีความล้า (Fatigue Index) อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ความดันโลหิตขณะพักและความดันโลหิตขณะออกกำลังกาย ผู้วิจัยนำผลที่ได้จากการทดลองมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนแบบสองทางและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป เอส พี เอส เอส รุ่น 21.0 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพื่อให้การวิเคราะห์ทางสถิติ เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ ผู้วิจัยทำการทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลว่าเป็นไปตามการกระจายตัวแบบ โค้งปกติ (normal distribution) โดยใช้สถิติ Shaprio Wilk จากการทดสอบพบว่า การกระจายตัวของข้อมูลเป็นไป ตามการกระจายตัวแบบโค้งปกติที่ p=0.01 ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาว่ายน้ำเพศชายและเพศหญิงมีความต้องการทางสรีรวิทยาที่ต่างกันทั้ง 5 ระบบ และพบว่า ตัวแปรทางสรีรวิทยาของนักกีฬาว่ายน้ำที่มีความแตกต่างกับระยะทางในการว่ายทั้งระยะสั้นและระยะกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ค่าทอร์กขณะเหยียดไหล่ขวา (F=131.211) ค่าทอร์กขณะงอเท้าขวา (F=15.083) และความดันโลหิตขณะออกกำลังกาย (F=6.034) จากงานวิจัยนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างค่า สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดกับเพศและระยะทางในการว่ายทั้งระยะสั้นและระยะกลางของ นักกีฬาว่ายน้ำ แต่พบความสัมพันธ์ระหว่างอันดับประเทศของนักกีฬากับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขณะเหยียดข้อศอก และ กล้ามเนื้อขณะเหยียดข้อเท้า โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .496 และ .528 ตามลำดับ สรุปได้ว่า ตัวแปรทางสรีรวิทยาที่มีความแตกต่างระหว่างนักกีฬาว่ายน้ำระยะสั้นและระยะกลางได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวไหล่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้าและความดันโลหิตขณะออกกำลังกาย
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the physiological demands between short and medium distance of free style swimmers. The quasi experimental survey was used in this study. 36 free style swimmers were recruited in this study. The participants could be divided into four groups according to gender (male or female) and swimming distance (50 or 400 m). As a result, each group had 9 participants. The data were collected one week after swimmers’ competition. The collected data included weight, height, body mass index, fat percentage, muscle strength at shoulder joint, elbow joint, knee joint, and ankle joints, The forced vital capacity (FVC), The forced expiratory volume in 1 second (FEV1), Maximum Oxygen Consumtion (VO2max), Carbondioxide production (VCO2), Anaerobic Threshold (AT), Anaerobic Capacity, Fatigue Index, Resting heart rate, Heart rate during exercise period, Resting Blood pressure and Blood pressure during exercise period. Means, standard deviations, two-way ANOVA, and correlations were found using SPSS v. 21.0. Significant level was set at .05. Prior to statistical analysis, data were tested if they were normally distributed using Shapiro Wilk. The result from Shapiro Wilk confirmed that the data of all variables were normally distributed at p=0.01. The results were as follows : Male and female swimmers required different physiological demand for all four systems. Moreover, short and medium distance swimmers differently required the following physiological dependent variables, muscle strength at shoulder (F=131.211) and ankle (F=15.083) and blood pressure during exercise period (F=6.034). In this study, swimmers in different distance did not demand different aerobic capacity. However, we found the correlation between the rank and muscle strength in elbow extension and ankle extension at .496 and . 528, respectively. In conclusion, the physiological demands that were required differenctly between short and medium distance swimmers were muscle strength at shoulder and ankle, and blood pressure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43071
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.543
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.543
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578303039.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.