Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43076
Title: วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: LIFESTYLE AND HEALTH BEHAVIORS OF THAI PEOPLE IN UBON RATCHATHANI PROVINCE
Authors: ธนัมพร ทองลอง
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: sukonthasab@hotmail.com
Subjects: การดำเนินชีวิต -- ไทย -- อุบลราชธานี
พฤติกรรมสุขภาพ -- ไทย -- อุบลราชธานี
Conduct of life
Health behavior
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยในจังหวัดอุบลราชธานี วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการเก็บข้อมูล คือ ชุมชนหัวดอนและชุมชนท่าไห อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 30 คน ประกอบด้วย กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนหัวดอนและชุมชนท่าไหมากกว่า 10 ปีและมีอายุ 45 – 59 ปี ชุมชนละ 10 คน รวม 20 คน และกลุ่มผู้ที่รู้ประวัติของชุมชนเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่า 15 ปี ชุมชนละ 5 คน รวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านสังคมเกษตรกรรมยึดถือฮีตสิบสองเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต มีการตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ ประกอบอาชีพทำนา หาอาหารตามธรรมชาติ และหลังเลิกงานจะพบปะสังสรรค์ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมกับแกล้ม และเมื่อวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา ชาวบ้านส่วนใหญ่หันไปรับจ้างและขับรถแท็กซี่มากขึ้น ลักษณะการทำงานตลอดทั้งวันและทำงานเป็นกะ มีการดื่มกาแฟ กินอาหารสำเร็จรูป และหลังเลิกงานมีการพบปะพูดคุย สังสรรค์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งออก 3 ส่วน คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ชาวบ้านวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุอาชีพเกษตรกรรมจะกินอาหารตามธรรมชาติแบบสุกๆ ดิบๆ อาชีพรับจ้างและอาชีพขับรถโดยสารมีการกินอาหารสำเร็จรูป ดื่มกาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย มี 3 แบบ คือ กิจกรรมทางกายที่เป็นวิถีชีวิต เช่น ทำนา ทำไร่ ผสมปูน กิจกรรมทางกายที่เป็นการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เช่น โยคะ ฟุตบอล ตะกร้อ และไม่มีกิจกรรมทางกาย พฤติกรรมการจัดการความเครียด ความเครียดมีสาเหตุมาจากปัญหาครอบครัว ปัญหาจากการทำงานและปัญหาสุขภาพ ชาวบ้านมีการคลายเครียด เช่น พบปะพูดคุย สวดมนต์ไหว้พระ สรุปผลการวิจัย วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชนและสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสำคัญ
Other Abstract: Purpose The purpose of this research was to study lifestyle and health behaviors of Thai people in Ubonratchathani province. Methods This research was the qualitative research. The study was done in Hua Don Community and Tha-hi Community, Amphur Kueng-ni, Ubonratchathani province. There were 30 key informants, consisted of people aged 45-59 years old who live in Hua Don Community and Tha-hi Community more than 10 years, 10 people from each community and 5 people who have known their community history from each community. The data were collected by survey, non-participant observation, and deep interview. The content analysis was used to analyze data. Results lifestyle of people in agricultural society followed “Heet-Sip-Song”, settled down close to a river, cultivated rice, found foods from nature, had party after work, and drank alcoholic beverage with foods. When foreign culture influenced their society, folks were more likely to be hirelings and taxi driver. They worked all day and worked as a shift, drank coffee, ate instant foods, had party after work, and drank alcoholic beverage. For health behaviors, there were 3 health behaviors. Eating behaviors, working age-folks and agricultural elderly ate medium-rare foods. Hirelings and taxi drivers ate instant foods and drank coffee, energy drink, and alcoholic beverage. Physical activity behaviors, there were 3 physical activities which were lifestyle-like behavior, for example, farming and gardening, exercise-like behavior, for example, yoga, football, and takraw, and non-exercise physical activity. For stress management behaviors which the stress was caused by family problems, problems from works, and health problems, folks relieved their stress by talking and praying. Conclusion lifestyle and health behavior were depended on community context and the changing of social status.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43076
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.548
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.548
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578312639.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.