Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43079
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสมฤทัย สุนธยาธรen_US
dc.contributor.authorปรียาภรณ์ รัตนพงษ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:56Z-
dc.date.available2015-06-24T06:23:56Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43079-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนและสถานที่โดยรอบตลาดน้ำคลองลัดมะยม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวชุมชนรอบตลาดน้ำคลองลัดมะยม จำนวน 400 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 6 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านด้านผลิตภัณฑ์ และด้านบุคลากรที่ให้บริการ การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวชุมชน ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ ระดับการศึกษาสูงสุด และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวชุมชนที่ไม่แตกต่างกัน สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าการท่องเที่ยวชุมชนทำให้การดำรงชีวิตของคนในชุมชนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น และควรมีการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้สะอาดและสวยงาม สร้างจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยวและคนในชุมชน จากการวิจัยเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาดังนี้ ควรพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น เพิ่มสถานที่จอดรถและห้องน้ำ ควรมีการส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้น เช่นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ จัดการสภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนให้สวยงาม จัดหากิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนในชุมชน ควรปลูกฝังจิตสำนึกคนในชุมชนในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมบริเวณชุมชนและลำคลอง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ควรมีการวางแผนนโยบาย เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นวิถีชีวิตแก่ประชาชนในชุมชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the developmental guideline of community based tourism for the surrounding area of Klong Latmayom Floating Market, Taling Chan district in Bangkok. The sample of respondents in this research divided into 2 groups. Firstly, the respondents of questionnaires were 400 tourists. The data collection from the questionnaires were analysed using percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way Anova and Pearson correlation. Secondly, the interview respondents were 6 persons and the data collected from the interview were transcribed and analysed putting into groups as well as concluded. The results showed that Thai tourists provided high level of reviews for the overall marketing mix (7P's) including physical evidence , product and people respectively. To compare the differences between level of monthly income had affected the marketing mix in community based tourism. Affect the marketing mix in tourism communities with statistically significant at 0.05. The interviewers were in the agreement that community based tourism has brought the better quality of life to local people in the community and the environment in the community should be well-managed to be clean and magnificent. Awareness about conservation on environment and culture should be raised among tourists and local residents in the community. The study results suggested the developmental guideline as follow: Attractions should be developed to accommodate the increasing number of tourists such additional car parking and restrooms. In addition, it should increase a marketing promotion advertising and has more advertisement as well as provide more information of the floating market to the tourists. Environment of the floating market should be well-managed. Local residents should be cultivated in order to increase awareness and protect the environment in the local community. Policies should be made to develop local tourism both in short and long term.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.551-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตลาดน้ำคลองลัดมะยม (กรุงเทพฯ) -- การท่องเที่ยว-
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชน-
dc.titleแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนรอบตลาดน้ำคลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENTAL GUIDELINE OF COMMUNITY–BASED TOURISM FOR THE SURROUNDING AREA OF KLONG LATMAYOM FLOATING MARKET, TALING CHAN DISTRICT IN BANGKOK METROPOLISen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsomruthai_s@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.551-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578318439.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.