Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43083
Title: ผลของการฝึกหนักสลับพักที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและอากาศนิยมของนักกีฬาแบดมินตันเยาวชนชาย
Other Titles: EFFECTS OF HIGH-INTENSITY INTERMITTENT TRAINING ON ANAEROBIC AND AEROBIC PERFORMANCE IN YOUNG MALE BADMINTON PLAYERS
Authors: วรเมธ ประจงใจ
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: c.intiraporn@yahoo.com
Subjects: นักแบดมินตัน
แบดมินตัน -- การฝึก
Badminton players
Badminton (Game) -- Training
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรมหนักสลับพักที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและอากาศนิยมของนักกีฬาแบดมินตันเยาวชนชาย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นศึกษาวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาแบดมินตันที่เก็บตัวฝึกซ้อมอยู่ที่ สโมสรแบดมินตัน ที ไทยแลนด์ อายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวน 24 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดกลุ่มแบบสุ่ม (Random Assignment) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 12 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง ฝึกด้วยโปรแกรมหนักสลับพัก 2 วันต่อสัปดาห์และฝึกปกติ กลุ่มควบคุม ฝึกปกติเพียงอย่างเดียว ระยะเวลาฝึกทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ทดสอบความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและอากาศนิยม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบเป็นอิสระต่อกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย จากการทดลองพบว่า ความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและอากาศนิยมของกลุ่มทดลอง ดีกว่า กลุ่มควบคุม หลังจากการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และ 8 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กลุ่มทดลอง มีความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและอากาศนิยม หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ดีกว่า ก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กลุ่มควบคุม หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 มีค่าดัชนีความเหนื่อยล้าและค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุด ดีกว่า ก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 มีค่าพลังแบบอนากาศนิยม ความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม และค่าจุดเริ่มล้า ไม่แตกต่างกัน ก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 การฝึกหนักสลับพักมีผลต่อความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและอากาศนิยมของนักกีฬาแบดมินตันเยาวชนชาย ผู้ฝึกสอนสามารถนำโปรแกรมการฝึกหนักสลับพักไปใช้ได้จริง และผสมผสานกับแผนการฝึกซ้อมของนักกีฬาระดับเยาวชน เพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป
Other Abstract: The purpose of this study the efficient training programs with high-intensity intermittent training on anaerobic and aerobic performance in young male badminton players. The present study was conducting based on the experimental research design. The sampling group was consisting of men athletes whose ages between 14-18 years. They were all practicing at the T-Thailand badminton club. The total sampling size of 24 (12each) was selected, by purposive sampling. A Random assignment was divided into two groups. One of group was trained twice a week for eight consecutive weeks. The evaluations of anaerobic and aerobic performance was done before start, after trained for 4 weeks and after trained 8 weeks of training program. Statistical analysis was conducted on those three evaluations data in order to determine various significant statistic parameters; i.e. , the mean, standard deviation and variance analysis. Moreover, t-test was applied to determine the significant at the .05. The results showed that study is found the experimental group was anaerobic and aerobic performances better than the control group evaluated after 4 and 8 weeks of training change statistically significant at the .05. The control group was anaerobic and aerobic performances evaluated after 8 weeks was better than before start and after evaluated 4 weeks significant at the .05. Moreover, the control group was anaerobic power, anaerobic capacity, and fatigue index were no differences before start and after evaluated 4 weeks significant at the .05. Conclusion, the training program with high-intensity intermittent training on anaerobic and aerobic performance has statistically effective significant for young male badminton players. Badminton coaches can get the high-intensity intermittent program for training young badminton players and combine with the training plan for the successful in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43083
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.555
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.555
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578327039.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.