Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสมen_US
dc.contributor.advisorเทพ หิมะทองคำen_US
dc.contributor.authorอติกานต์ เกนี่en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:23:59Z
dc.date.available2015-06-24T06:23:59Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43086
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเดินสมาธิและการเดินต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการตอบสนองของหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 อายุระหว่าง 40-75 ปี แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเดิน จำนวน 11 คน และกลุ่มเดินสมาธิ จำนวน 12 คน โดยใช้การเดินบนลู่กล ทั้งสองกลุ่มทำการออกกำลังกายเป็นเวลา 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ จำนวน 12 สัปดาห์ ให้มีความหนักอยู่ที่ระดับปานกลาง (50-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) การเดินสมาธิใช้การเดินบนลู่กลพร้อมกับใช้การกำหนดจิตขณะเดินโดยการตั้งใจจับความรู้สึกที่เท้าขณะก้าวเดิน โดยให้พูดออกเสียงคำว่า “พุท” และ “โธ” เมื่อก้าวเท้าแต่ละข้างไปข้างหน้า โดยโปรแกรมการเดินสมาธินี้มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.91 และมีความเที่ยงโดยให้ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 คน เดินสมาธิตามโปรแกรม 2 ครั้ง พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ก่อนและหลังการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายทำการประเมินตัวแปรด้านสรีรวิทยา สุขสมรรถนะ การตอบสนองของหลอดเลือด สารชีวเคมีในเลือด ระดับความเครียด และคุณภาพของชีวิตของอาสาสมัคร ผลการวิจัย ภายหลังจากการฝึก 12 สัปดาห์ ทั้งกลุ่มเดินและกลุ่มเดินสมาธิพบว่ามีค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น การขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อถูกปิดกั้นการไหลเวียนเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พบว่าเฉพาะกลุ่มเดินสมาธิมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวลดลง ระดับคอร์ติซอลในเลือดลดลง และมีค่าต่ำกว่ากลุ่มเดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความแข็งตัวของหลอดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้น และมีค่าสูงกว่ากลุ่มเดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การเดินและการเดินสมาธิมีผลดีต่อการพัฒนาสุขสมรรถนะ ช่วยปรับปรุงหน้าที่การทำงานของหลอดเลือด และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่การเดินสมาธิสามารถลดความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2en_US
dc.description.abstractalternativePurpose: The purpose of this study was to investigate and compare the effects of walking-meditation and those of walking exercise alone on glycemic control and vascular reactivity in patients with type 2 diabetes mellitus. Methods: To prove whether this program was valid and reliable, 9 randomly selected participants with type 2 diabetes have conducted this walking-meditation exercise. After the 2 training sessions, it was found that the exercise program had a content validity (IOC=0.91) and as for its reliability based on the participants’ exercise heart rates, there was no significant difference between the first and the second session. Then another 33 patients with type 2 diabetes (40-75 years) were randomly assigned into either traditional walking exercise (TW; n=11) or a combined walking-meditation exercise (WM; n=12). Both groups performed a 12-week exercise program that consisted of walking on treadmill at mild to moderate intensity (50-70% maximum heart rate) for 30 minutes/session, 3 times/week. In the WM training program, the participants performed walking on the treadmill while concentrating on foot stepping and voicing “Budd” and “Tho" when each foot contacted the floor to practice mindfulness while walking. At pre- and post-training, the variables were collected. Results: After 12 weeks, the maximal oxygen consumption increased and the fasting blood glucose level decreased significantly in both groups (p<.05). The significant decrease in systolic and diastolic blood pressure was observed only in the WM group. Flow-mediated dilatation increased significantly (p<.05) in both exercise groups but arterial stiffness was improved only in the WM group. Blood cortisol level was reduced only in the WM group. Moreover, the heart rate variability was significantly increased (p<.05) only in the WM group. Conclusion Both TW and MW exercise have favorable effects on improving vascular functions and controlling blood glucose but effective stress reduction can only be found in the WM exercise which should be a useful exercise in patients with type 2 diabetes.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.558-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วย
dc.subjectสมาธิ -- การฝึก
dc.titleผลของการเดินสมาธิต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการตอบสนองของหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2en_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF COMBINED MEDITATION AND WALKING ON GLYCEMIC CONTROL AND VASCULAR REACTIVITY IN PATIENTS WITH TYPE 2 DIABETES MELLITUSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisordaroonwanc@hotmail.comen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.558-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578332139.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.