Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43101
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์en_US
dc.contributor.authorสุภัทรา ศิลปบรรเลงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:06Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:06Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43101
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับผลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อพลังกล้ามเนื้อขาในขณะกล้ามเนื้อหดตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพศหญิง อายุ 18-22 ปี จำนวน 16 คนความแข็งแรงสัมพัทธ์ 1.5-2.0 ใช้การถ่วงดุลลำดับ (counterbalancing) ด้วยการเลือกแบบสุ่ม โดยทำการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย 4 แบบ สัปดาห์ละ 1 แบบ การสั่นสะเทือนทั้งร่างกายแบบที่1 ใช้ท่า Static half squat ทำการสั่นสะเทือนเป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 40 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 2-4 มิลิเมตร, แบบที่2 ใช้ท่า Static half squat ทำการสั่นสะเทือน เป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 50 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 4-6 มิลิเมตร, แบบที่3 ใช้ท่า Dynamic half squat ทำการสั่นสะเทือนเป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 40 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 2-4 มิลิเมตร, แบบที่4 ใช้ท่า Dynamic half squat ทำการสั่นสะเทือนเป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 50 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 4-6 มิลิเมตร โดยในช่วงของการทดสอบจะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการสั่นโดยค่าที่ได้จากการกระโดดด้วยความสามารถสูงสุด 1 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำเปรียบเทียบ 4 แบบ โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของแอลเอสดีและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกันโดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จากการทดลองพบว่า พลังกล้ามเนื้อสูงสุดภายหลังการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายในแบบที่1 นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 ทั้งนี้แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งจากพื้นสูงสุดภายหลังการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย ในแบบที่ 3 และความเร็วสูงสุดของบาร์เบลในแบบที่1และแบบที่4 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่เมื่อนำค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งจากพื้นสูงสุดและความเร็วสูงสุดของบาร์เบลทั้งก่อนและหลังการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายทั้ง 4 แบบมาเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the acute effect of Wholebody vibration on leg muscular power during static and dynamic contractions. Sixteen female undergraduate students, 18-22 years old, relative strength 1.5-2.0 from Faculty of Sport Science, Chulalongkorn University performed four Wholebody vibration treatment in a counter-balance order. Treatment 1: Performing static half squat during 45 sec of vibration session, the frequency was 40 Hz, the amplitude was 2-4 mm, Treatment 2: Performing static half squat during 45 sec of vibration session, the frequency was 50 Hz ,the amplitude was 4-6 mm, Treatment 3: Performing dynamic half squat during 45 sec of vibration session, the frequency was 40 Hz, the amplitude was 2-4 mm and Treatment 4: Performing dynamic half squat during 45 sec of vibration session, the frequency was 50 Hz ,the amplitude was 4-6 mm within four weeks. The data of leg muscular power were assessed pre and post vibration. The obtained of data were analyzed in term of One-Way analysis of Variance with repeated measure between 4 vibration treatment (multiple comparison by LSD) and compare between before and after vibration with Paired-Sample t-test to also employed for statistical significant (p<0.05) The research result indicated that the acute effect of treatment 1 significantly increase peak power comparing to before and after vibration data at the 0.05 level. Moreover, the acute effect of treatment 3 significantly increase in peak vertical ground reaction force and the acute effect of treatment 1 and 4 significantly increase in peak bar velocity. However, there were no significant differences between four Whole-body vibration treatment .
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.573-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectขา -- กล้ามเนื้อ
dc.subjectกล้ามเนื้อ -- การหดตัว
dc.titleผลฉับพลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อพลังกล้ามเนื้อขาในขณะกล้ามเนื้อหดตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนที่en_US
dc.title.alternativeACUTE EFFECTS OF WHOLE-BODY VIBRATION ON LEG MUSCULAR POWER DURING STATIC AND DYNAMIC CONTRACTIONSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorc.intiraporn@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.573-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578419139.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.