Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43102
Title: ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตัน รายการ เอสซีจี แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก 2013
Other Titles: THE MARKETING MIX AFFECTING DECISION MAKING TO ATTEND SCG WORLD JUNIOR BADMINTON CHAMPIONSHIPS 2013
Authors: สุวรรณี รูปหล่อ
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: tepprasit.g@chula.ac.th
Subjects: วิจัยการตลาด
ความเต็มใจจ่าย
Marketing research
Willingness to pay
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันรายการ เอสซีจี แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก 2013 และเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตัน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.97 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบตามเพศด้วยการทดสอบค่า"ที"(t-test) และเปรียบเทียบตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยการทดสอบค่า"เอฟ"(F-test) เมื่อพบความแตกต่าง ใช้วิธีการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe Method) ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย 1. ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันรายการ เอสซีจี แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก 2013 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านราคา ตามลำดับ 2. เมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม เพศ พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันระหว่างเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน 3. เมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม อายุ พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการส่งเสริมการขาย 4. เมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านบุคลากร 5. เมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม อาชีพ พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านราคา และด้านสถานที่ให้บริการ 6. เมื่อเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม รายได้ พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านผลิตภัณฑ์
Other Abstract: The objective of this research were to study about the marketing mix affecting decision making to attend SCG World Junior Badminton Championships 2013 and to compare the effect of the marketing mix classified by genders, ages, educations, occupations and incomes. A total of 400 samples were studies by using the questionnaire as a survey tool. The Validity and The alpha-coefficient of Cronbach were found to be 0.90 and 0.97. Data were collected and analyzed by using statistical tools such as mean and standard deviation. Data comparison by genders is analyzed by using t-test and data comparison by ages, educations, occupations and incomes is analyzed by using one way ANOVA (F-test). Then the differences were analyzed in pairs by using Scheffe Method. Results of the research 1. The overall marketing mix affecting decision making to attend SCG World Junior Badminton Championships 2013 is at high level with the following marketing mix factors: Place, Product, Process, Physical Evidence & Presentation, People, Promotion and Price. 2. The Result of comparing the marketing mix classified by gender is no statistical significant. 3. The Result of comparing the marketing mix classified by ages is statistical significant difference at the .05 level for Promotion. 4. The Result of comparing the marketing mix classified by educations is statistical significant difference at the .05 level for Product, Promotion and People. 5. The Result of comparing the marketing mix classified by occupations is statistical significant difference at the .05 level for Price and Place. 6. The Result of comparing the marketing mix classified by incomes is statistical significant difference at the .05 level for Product.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43102
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.574
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.574
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578420739.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.