Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43149
Title: ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เทคนิค เอส เอ คิว ที่มีต่อทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษา
Other Titles: EFFECTS OF PHYSICAL EDUCATION ACTIVITIES MANAGEMENT USING SAQ TECHNIQUE ON FOOTBALL DIBBLING SKILLS AND PHYSICAL FITNESS OF ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS
Authors: ธีรนัย มุงคุณคำชาว
Advisors: รุ่งระวี สมะวรรธนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: rungrawee.sa@chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
ความสามารถทางกีฬา
สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ
Activity programs in education
Athletic ability
Physical fitness -- Testing
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เทคนิค เอส เอ คิว ที่มีต่อทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านโนนพะไล จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน โดยวิธีการแบ่งกลุ่มแบบจับคู่ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือการวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = .85) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance With Repeated Measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของแอลเอส ดี (LSD) ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ทักษะในการเลี้ยงลูกฟุตบอล หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยทักษะในการเลี้ยงลูกฟุตบอลสูงกว่ากลุ่มควบคุม 2) สมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ ยืนกระโดดไกล ลุกนั่ง ดันพื้น วิ่งกลับตัว 5 เมตร และวิ่ง 5 นาที พบว่า สมรรถภาพทางกายของนักเรียน 5 ด้าน ยกเว้นยืนกระโดดไกล หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่การยืนกระโดดไกล หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi research was to study the effect of Physical Education activities management using SAO training program on football dibbling skills and physical fitness of elementary school students. The samples were 30 football players in Elementary of Bannonpalai School. Matching technique were used to divided the samples into two groups with 15 each, control and experimental groups. The experiment took eight weeks, three days a week with an hour a day. The validity of the instruments was using IOC method (IOC=.85), The statistics were analyzed in term of Means, Standard deviation, t-test, and one – way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by LSD method. The results were: 1) the football dribbling skill after four weeks and after eight weeks of training between the experimental and the control groups were significant difference at the .05 Level, the means score of experiment group was higher than the control group. 2) the physical fitness of the students in experimental and the control groups were the standing long jump, sit-up, push – up, timed shuttle run, and five-minutes distance running. The five items of the physical fitness except the standing long jump after 4 weeks and after 8 weeks of training between the experimental group and the control group was significant difference at the .05 Level. While the standing long jump after 4 weeks and after 8 weeks of training between the experimental group and the control group was not significant difference at the .05 Level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43149
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.619
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.619
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583398327.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.