Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43155
Title: บทบาทการส่งผ่านของความร่วมมือของครูในการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู
Other Titles: MEDIATING ROLES OF TEACHER COLLABORATION IN STUDYING THE CAUSAL FACTORS OF TEACHERS’ LEARNING AND CLASSROOM PRACTICES
Authors: พจนา อาภานุรักษ์
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
ครู
ความร่วมมือ
Learning
Teachers
Cooperation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครู ระดับการเรียนรู้ของครู ระดับการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู และระดับปัจจัยเชิงสาเหตุของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครู (2) พัฒนาโมเดลเชิงเหตุและผลของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูที่มีต่อการเรียนรู้ของครูและการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความร่วมมือในการปฏิบัติของครูที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านอิทธิพลทางตรงของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูไปยังการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู และอิทธิพลทางอ้อมที่มีการส่งผ่านการเรียนรู้ของครูไปยังการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู ตัวอย่างวิจัย คือ ครูระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสัดกัด สพฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 577 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรลแบบโมเดลอิทธิพลตัวแปรส่งผ่าน สรุปผลการวิจัย (1) ครูมีความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูและการปฏิบัติงานในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก ในขณะที่มีระดับการเรียนรู้และระดับปัจจัยเชิงสาเหตุของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก โดยครูระดับประถมศึกษามีระดับความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูและการเรียนรู้ของครูสูงกว่าครูระดับมัธยมศึกษา ครูระดับประถมศึกษาที่มีตำแหน่งวิทยฐานะเป็นครูผู้ช่วย-ครู คศ.1 มีระดับการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครูสูงกว่าครูระดับประถมศึกษาที่มีตำแหน่งวิทยฐานะเป็นครู คศ.2 ขึ้นไป และครูระดับประถมศึกษาที่มีตำแหน่งวิทยฐานะเป็นครู ครู คศ.2 ขึ้นไป มีระดับปัจจัยเชิงสาเหตุของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูสูงกว่าครูระดับประถมศึกษาที่มีตำแหน่งวิทยฐานะเป็นครูผู้ช่วย-ครู คศ.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) โมเดลบทบาทการส่งผ่านของความร่วมมือของครูในการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครูสอดคล้องกับกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ไค - สแควร์ = 39.17 df =34 p = 0.249 GFI = 0.988 AGFI = 0.977 RMSEA = 0.016 (3) ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูมีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้ของครู (0.929) และการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู (0.507) และมีอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผ่านการเรียนรู้ของครูไปยังการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู (0.400) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were as follows: (1) to analyze the level of teachers’ collaboration, learning, classroom practice and causal factors of teachers’ collaboration (2) to develop the causal and effect model of teachers’ collaboration toward teachers’ learning and teachers’ practice and validate the model with empirical data and (3) to analyze the direct effect of teachers’ collaboration and classroom practices and indirect effect on classroom practices via teachers’ learning. The sample consisted of 557 primary and secondary school teachers in OBEC schools in Bangkok. The research data were collected using questionnaire and analyzed by descriptive statistics, Pearson product moment correlation, Confirmatory Factor Analysis, and LISREL mediation model. The research findings were as follows: (1) Teachers’ collaboration and classroom practices were at medium to high level, and teachers’ learning and causal factors of teachers’ collaboration was at high level. Primary teachers had significant higher level of collaboration and teachers’ learning than that of secondary school teachers. Primary teachers in teacher assistant-teacher position had the highest classroom practice level, and Primary teachers in upper specialist position had the highest causal factors of teachers’ collaboration at p=.05. (2) The mediation model of teachers’ collaboration toward teachers’ learning and teachers’ practice fitted to the empirical data with Chi-square = 39.17 df =34 p = 0.249 GFI = 0.988 AGFI = 0.977 and RMSEA = 0.016 (3) Teachers’ collaboration had significant direct effect on teachers’ learning (0.929) and teachers’ practice (0.507) and significant indirect effect on teachers’ practice via teachers’ learning (0.400) at p=.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43155
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.625
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.625
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583413027.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.