Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43158
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณen_US
dc.contributor.authorวรัญญา แดงสนิทen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:24:35Z
dc.date.available2015-06-24T06:24:35Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43158
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความยึดมั่นผูกพันในงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของตัวแปรความยึดมั่นผูกพันในการทำงาน 4) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างกลุ่มครูที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครจำนวน 534 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์กลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ครูมีระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความยึดมั่นผูกพันในงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (M = 4.01, 4.05 และ 3.95 ตามลำดับ) 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 48.39 องศาอิสระเท่ากับ 40 ความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.170 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนเท่ากับ 0.985 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความยึดมั่นผูกพันและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 72 และ 74 ตามลำดับ 3) ตัวแปรความยึดมั่นผูกพันในงานมีบทบาทการส่งผ่านแบบบางส่วน (partial mediator) จากตัวแปรทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกไปยังตัวแปรความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 4) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ไม่มีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรภายในสังเกตได้บนตัวแปรภายในแฝง (LY) เท่านั้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were as follows 1) to study psychological capital work engagement and job satisfaction of teacher. 2) to examine the goodness of fit of a casual relationships between psychological capital and job satisfaction with work engagement as mediator with empirical data. 3) to study mediator effect of work engagement. 4) to test variance of a casual relationships between psychological capital and job satisfaction with work engagement as mediator across those two working experience. The research sample consisted of 534 primary school and secondary school teachers in Bangkok. The survey questionnaires were used for collecting the research data. The analytical methods of this research consisted of descriptive statistic, Pearson correlation and multiple group analysis by LISREL. The major findings were as follows 1) Teachers had high level of psychological capital work engagement and job satisfaction with average score of 4.01, 4.05 and 3.95, respectively. 2) A casual relationships between psychological capital and job satisfaction with work engagement as mediator fitted the empirical data indicating by Chi-square=48.39, df=40, p-value=0.170 and GFI=0.985. The variables in model explained 72% and 74% of variance of work engagement and job satisfaction respectively. 3) Work engagement was a partial mediator between psychological capital and job satisfaction 4) A casual relationships between psychological capital and job satisfaction with work engagement as mediator indicated invariance of model form across those two groups with different working experience but factor loading parameters were variance (LY) only.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.628-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตวิทยาเชิงบวก
dc.subjectครู -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subjectPositive psychology
dc.subjectTeachers -- Job satisfaction
dc.titleความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลen_US
dc.title.alternativeA CAUSAL RELATIONSHIP BETWEEN POSITIVE PSYCHOLOGICAL CAPITAL AND JOB SATISFACTION OF TEACHERS WITH WORK ENGAGEMENT AS THE MEDIATOR: MODEL INVARIANCE TESTINGen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorduangkamol.t@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.628-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583429127.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.