Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43190
Title: กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็ว
Other Titles: MARKETING COMMUNICATION STRATEGIES, CONSUMERS' INFORMATION EXPOSURE, SATISFACTION AND DECISION ON BUYING FAST FASHION CLOTHING
Authors: นลินมาส เหล่าวิวัฒน์
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.b@chula.ac.th
Subjects: การจัดการตลาด
พฤติกรรมข่าวสาร
ความเต็มใจจ่าย
Marketing -- Management
Information behavior
Willingness to pay
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็ว" มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็ว 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความพึงพอใจต่อสินค้าของผู้บริโภคเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็วในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อสินค้าและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็วในประเทศไทย 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจต่อสินค้า และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็วในประเทศไทย ซึ่งใช้วิธีการวิจัย 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร จากแหล่งข้อมูลของตราสินค้า ZARA ตราสินค้า H&M และตราสินค้า UNIQLO ได้แก่ การโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ การโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมส่งเสริมการขายและเว็บไซต์หลักของตราสินค้า และ 2) การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทแฟชั่นรวดเร็ว เพศหญิง อายุระหว่าง 18-40ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) ตราสินค้า UNIQLO ใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดมากที่สุด รองลงมาคือ ตราสินค้า H&M และตราสินค้า ZARA ตามลำดับ โดยตราสินค้า ZARA ใช้การโฆษณาทางป้ายโฆษณากลางแจ้ง กิจกรรมส่งเสริมการขายและเว็บไซต์หลัก ส่วนตราสินค้า H&M และตราสินค้า UNIQLO เน้นการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทางด้านการโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการขาย ตราสินค้า UNIQLO ใช้กิจกรรมส่งเสริมการขายมากกว่าหากเปรียบเทียบกับตราสินค้า H&M และตราสินค้า ZARA ส่วนการใช้เว็บไซต์หลัก ทั้ง 3 ตราสินค้าใช้ในลักษณะที่คล้ายกัน โดยเน้นการนำเสนอทางด้านสินค้าและราคา 2) กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากการจัดแสดงร้านค้าและกิจกรรมส่งเสริมการขายมากที่สุด อีกทั้งมีความพึงพอใจต่อสินค้าในประเด็นการออกแบบทันสมัยและช่วยสร้างความมั่นใจและภูมิใจเมื่อสวมใส่ ในส่วนพฤติกรรมการตัดใจซื้อสินค้า พบว่ากลุ่มตัวอย่างซื้อสินค้าประเภทเสื้อยืดมากที่สุด โดยซื้อไม่ค่อยบ่อยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
Other Abstract: The purpose of this research are: 1) to study marketing communication strategies of fast fashion clothing. 2) to study the relationship between consumers' information exposure and satisfaction of respondents. 3) to study the relationship between satisfaction and decision on buying of respondents. 4) to study the relationship between consumers' information exposure, satisfaction and decision on buying of respondents. This study is conducted in 2 parts: 1) qualitative research: a documentary analysis of ZARA, H&M and UNIQLO brands on their printing and electronic media advertising, promotion activities and websites. 2) quantitative research: a survey research using questionnaires to collect data from 400 female respondents who use fast fashion clothing in Bangkok. Statistics used in this research are frequency, percentage, mean scores and One-Way ANOVA. SPSS (Windows) program is employed for data processing. The results of this study are: 1) UNIQLO used more marketing communication strategies than H&M and ZARA. ZARA used billboards, promotion activities and the official website to advertise the brand. H&M and UNIQLO, mostly focus on printing media and electronic media. UNIQLO used promotion activities more comparing to ZARA and H&M, but all of them, use their official websites similarly, focusing on presenting their products and showing the competitive prices. 2) The majority of respondents have brand exposure from shop displayed and promotion activity. The products satisfaction came from fashionable design of the brand that encourage their self-esteem and confidence of wearing their costumes. For decision on buying, during the last 6 months- the majority of respondents rarely purchased T-shirt which is a type of product that they regularly purchase most often.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43190
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.659
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.659
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584676028.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.