Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43203
Title: การหลอมรวมสื่อขององค์กรทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
Other Titles: MEDIA CONVERGENCE OF BUDDHIST ORGANIZATIONS IN THAILAND
Authors: วิรัชชัย พงษ์เกาะ
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.C@chula.ac.th
Subjects: การหลอมรวมสื่อ
วัด
ศรัทธา (พุทธศาสนา)
Media convergence
Faith (Buddhism)
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการหลอมรวมสื่อ ปัจจัยและประสิทธิผลของการหลอมรวมสื่อที่มีต่อองค์กรและผู้รับสื่อทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการณ์การทำงาน (Field Observation) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ผลิตสื่อจำนวน 19 คน และผู้รับสื่อจำนวน 38 คน จากวัด 5 แห่งที่ศึกษา ได้แก่ วัดท่าซุง วัดธารน้ำไหล วัดป่าบ้านตาด วัดพระธรรมกาย และวัดอัมพวัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การหลอมรวมสื่อเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานด้านสื่อของวัดทั้ง 5 แห่ง ในระดับความร่วมมือที่ต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างด้านบริบทแวดล้อม แนวทางคำสอน นโยบายองค์กร บุคลากร เทคโนโลยี ฯลฯ โดยวัดพระธรรมกายมีลักษณะการทำงานแบบหลอมรวมสื่ออย่างเด่นชัดที่สุด เนื่องจากมีนโยบายการเผยแผ่ธรรมะเชิงรุก ใช้สื่อหลากหลายประเภทในการเผยแผ่ธรรมะ บุคลากรเป็นผู้มีความศรัทธาต่อวัด มีความรู้ความชำนาญในการทำงานสื่อด้านนั้นๆ มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและมีศูนย์กลางการทำงานสื่อเพียงแห่งเดียว 2. ปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการหลอมรวมสื่อ แบ่งเป็นปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ นโยบายองค์กร แนวทางคำสอน บุคลากรสื่อ องค์หลวงพ่อหรือพระสงฆ์ ทุน เทคโนโลยี และปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ผู้รับสื่อ โดยปัจจัยหลักที่กำหนดการหลอมรวมสื่อ ได้แก่ นโยบายองค์กร แนวทางคำสอน บุคลากร ทุนและเทคโนโลยี 3. ประสิทธิผลของการหลอมรวมสื่อส่งผลให้วัดปรับตัวการใช้สื่อตามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้รับสื่อยุคใหม่ แต่จะไม่เน้นรูปแบบทางโลก และประสิทธิผลของการหลอมรวมสื่อส่งผลให้ผู้รับสื่อของวัดมีช่องทางในการเลือกเปิดรับสื่อมากขึ้น รู้จักสื่อของวัดผ่านสื่อและการบอกปากต่อปาก เข้าถึงสื่อตลอดเวลาในกลุ่มที่ใช้สื่อออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน และเข้าถึงบ่อยครั้งขึ้นในกลุ่มที่ไม่ใช้สื่อออนไลน์ ผู้รับสื่อแต่ละวัดพึงพอใจสื่อแตกต่างกันและส่วนใหญ่ใช้สื่อเพื่อเพิ่มการเข้าถึง เพิ่มความศรัทธาและปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น เพราะเชื่อว่าสื่อมีผลต่อการเพิ่มระดับความศรัทธาและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ผู้รับสื่อบางกลุ่มมีการหลอมรวมแนวทางการปฏิบัติธรรม โดยดึงเอาจุดเด่นของการปฏิบัติธรรมแต่ละแนวทางมาประยุกต์ใช้ด้วย
Other Abstract: This research aims at analyzing and comparing production, factors and effects of media convergence on Buddhist organizations and users of Buddhist media in Thailand. Using field observation and in-depth interview , the researcher collected data from 19 media production team members and 38 audience members from 5 selected temples ; Wat Tha Sung, Wat Suan Mokkh, Wat Pa Baan Taad, Wat Pra Dhammakaya and Wat Amphawan. The results of the study are as follows: 1. Media convergence concept is being used in the media production of all temples but at different levels of cooperation among the production team members due to the factors such as contexts, preaching styles, organization policies, media staff, and technologies. Wat Pra Dhammakaya is the most outstanding Buddhist organization using media convergence in the entire production as seen in various types of media used in the proactive propagation policy, media staff with high skills and faith in the temple and in Buddhism, and strong organization culture with only one media operating center. 2. The factors affecting media convergence in organizations involve both internal and external elements. The internal factors consist of organization policies, Buddhist preaching style, media staff, Buddhist monks, budgets, the use of technology. The external factors comprise of social contexts, economy, politics, audience. The main factors determining media convergence are organization policies, preaching styles, personnel, budgets and technologies. 3. The effects of media convergence on organizations result in media adaptation of the temples so that they can approach modern media consumers while retain the same religious contents. Also, audience are provided with wider choices of media. New audiences of the temples know more about the media through media itself and word-of-mouth communication. Those who use online media can access the content at anytime, and do so more frequently than traditional media users. Media audience of different temples have different media satisfaction levels and use media to increase accessibility to the temple, faith, and opportunities to participate in religious activities. Some audience members also integrate Dhamma practicing methods from various temples to suit their own preferences.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43203
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.741
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.741
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584700328.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.