Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43261
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พนิต ภู่จินดา | en_US |
dc.contributor.author | สมพงษ์ กฤตธรรมากุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | |
dc.coverage.spatial | ตรัง | |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:36:37Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:36:37Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43261 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดเมืองสุขภาวะขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมืองให้เหมาะสมต่อการประกอบกิจกรรมทางกายซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้การสัญจรที่ใช้แรงกายด้วยการเดินหรือขี่จักรยานไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันแทนการใช้ยานพาหนะแบบมีเครื่องยนต์ การประกอบกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันสามารถช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและยังสามารถช่วยลดปัญหาการจราจรของเมืองได้อีกด้วย แนวคิดเมืองสุขภาวะได้กลายเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาเมืองที่ให้ความสำคัญกับการสัญจรที่ใช้แรงกายด้วยการเดิน ขี่จักรยาน รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะมากกว่าการใช้ยานพาหนะแบบมีเครื่องยนต์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบของระบบทางเท้า ทางจักรยาน และสภาพแวดล้อมกายภาพของเส้นทางจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำไปสู่การกำหนดเกณฑ์ในการออกแบบระบบการสัญจรและสภาพแวดล้อมกายภาพเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ซึ่งประกอบไปด้วยเกณฑ์ด้านการเชื่อมต่อ ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกและความน่าสนใจของเส้นทาง ทำการเก็บข้อมูลระบบทางเท้า ทางจักรยานของพื้นที่ศึกษาทั้งจากเอกสารและการสำรวจพื้นที่ภาคสนามแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการประเมินระดับความพึงพอใจของระบบทางเท้า ทางจักรยานจากการตอบแบบสอบถามของคนในพื้นที่ศึกษา สรุปผลการการศึกษาและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบการสัญจรและสภาพแวดล้อมกายภาพเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในการศึกษานี้ได้เลือกเทศบาลนครตรังเป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากโครงสร้างของเมืองเป็นเมืองขนาดเล็กมีความหนาแน่นบริเวณศูนย์กลางเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน การจราจรไม่หนาแน่นและมีการสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายของประชาชน เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา ทางเท้า ทางจักรยานและระบบขนส่งสาธารณะ ผลการศึกษาระบบการสัญจรทางเท้า ทางจักรยานและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเส้นทางในเขตเทศบาลนครตรังทั้งจากผลการประเมินข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และผลการประเมินระดับความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ศึกษาจากข้อมูลแบบสอบถาม สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ระบบทางเท้าในเขตเทศบาลนครตรังมีศักยภาพด้านการเชื่อมต่ออยู่ในเกณฑ์ที่ดี ด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีและด้านความน่าสนใจของเส้นทางอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนระบบทางจักรยานในเขตเทศบาลนครตรังมีศักยภาพด้านการเชื่อมต่ออยู่ในเกณฑ์ที่ดี ด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและด้านความน่าสนใจของเส้นทางอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบทางเท้า ทางจักรยาน และสภาพแวดล้อมกายภาพของเส้นทางเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเขตเทศบาลนครตรัง ควรมีการปรับปรุงด้านความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกและความน่าสนใจ เช่น สิ่งกีดขวางการมองเห็น ไฟฟ้าส่องสว่าง รูปแบบการข้ามถนน ขนาดทางเท้า ทางจักรยาน สิ่งกีดขวางการสัญจร ทางลาด ระยะถอยร่น ร่มเงา ที่จอดจักรยาน ควบคู่กับมาตราการด้านการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนหันมาใช้การสัญจรที่ใช้แรงกายด้วยการเดินและขี่จักรยานไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ในชีวิตประจำวัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study derives Healthy Cities Concept of World Health Organization to promote health and well-being of citizens by improving the urban environment, which is suitable for the physical activity. (an activity that involves the body movements through the power of the muscle) Promotion of physical activity through active transport has a number of advantages and most effective way to encourage people travel to various destinations by walking or cycling in everyday life, instead of using a motorized vehicle. Physical activity for at least 30 minutes a day can help enhancing the health benefits and also reducing traffic problems of the city as well. Healthy Cities Concept become a new paradigm in the development of the city, focusing on active transport by walking, cycling and public transport than motorized vehicles. This research aims to identify the factors and components of sidewalk, bike path systems and physical environment from literature review in order to determine the design criteria for transport system and physical environment to promote physical activity, which includes the criteria for the Connection, Safety, Convenience and Attractiveness of the route. Collecting sidewalk and bike path systems data of study area both documents and field survey. Then to analyze and assess according to defined criteria. The results were analyzed and compared with the results of the satisfaction level of the sidewalk and bike path systems from collecting questionnaires data. At the end summary of studies and guidelines to improve transport system and the physical environment for promoting physical activities. In this study, Trang Municipality has been selected a study area. Due to its urban structure as a compact city with population density in the center, mix land use, no traffic density and processing of urban environment to promote physical activity and exercise. (such as sidewalks, bike paths, parks, sports fields and public transport) The research of sidewalk, bike path systems and physical environment of Trang Municipality both a result of the evaluation defined criteria and assess the level of satisfaction of the people in the study area from query data which the results can be summarized as follows. Sidewalk system in Trang Municipality has potential connection remains good. Safety remains moderate. Convenience remains poor, and the attractiveness of the route is in the moderate. The bike path system in Trang Municipality has potential connection remains good. Safety, Convenience and the attractiveness of the route are in the moderate. Guidelines for improving sidewalk, bike path systems and physical environment of the route for promoting physical activities in Trang Municipality should have improved safety, convenience and the attractiveness of the route such as obstructions to visibility, electric lights, patterns across the street, sidewalks width, on-street bikeways width, ramp, obstructions, set back, shade and bicycle parking conjunction with section management. With the purpose to encourage and motivate people to travel to various destinations by walking or cycling in everyday life, instead of using a motorized vehicle. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.669 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คมนาคม -- ไทย -- ตรัง | |
dc.subject | การขนส่ง -- ไทย -- ตรัง | |
dc.subject | ทางเท้า | |
dc.subject | ทางจักรยาน | |
dc.subject | Communication and traffic -- Thailand -- Trang | |
dc.subject | Transportation -- Thailand -- Trang | |
dc.subject | Sidewalks | |
dc.subject | Bicycle trails | |
dc.title | แนวทางการปรับปรุงระบบการสัญจรเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเมืองตรัง | en_US |
dc.title.alternative | GUIDELINES FOR TRANSPORT SYSTEM IMPROVEMENT FOR PROMOTING PHYSICAL ACTIVITIES OF TRANG CITY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การออกแบบชุมชนเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | panit.p@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.669 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5374199125.pdf | 21.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.