Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43332
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คณพล จันทน์หอม | en_US |
dc.contributor.author | ภัทรินทร์ เอี่ยมบุตรลบ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:37:14Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:37:14Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43332 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความผิดเกี่ยวกับการที่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ ความรู้พิเศษและข้อมูลภายในที่ได้เข้าถึงมาก่อน หรือการใช้อิทธิพลหรือความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ทำการตัดสินใจในการแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ อันถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยใช้ช่องทางที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอยู่ใช้แสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคลหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและละเมิดจริยธรรม ขัดต่อหลักความประพฤติอันชอบด้วยคุณธรรม ความไม่มีส่วนได้เสีย ระบบการบริหารงานที่ดี รวมถึงบั่นทอนความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนต่อการดำเนินงานภาครัฐ โดยศึกษาถึงบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐในประเทศไทยเปรียบเทียบกับในต่างประเทศ เพื่อตอบคำถามสำคัญอันเป็นเป้าหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ว่า มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นหรือไม่ เพื่อให้บทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐในประเทศไทยมีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า แม้ประเทศไทยจะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แล้วก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ บทบัญญัติที่มีอยู่นั้นยังไม่ครอบคลุมเพียงพอในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย โดยการแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐ และครอบคลุมขอบเขตการใช้บังคับแก่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการสร้างมาตรการเสริมในเชิงป้องกันการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐและเสริมสร้างความประพฤติอันชอบด้วยคุณธรรม เพื่อให้บทบัญญัติกฎหมายในส่วนเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐมีความเหมาะสมสอดคล้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เดิม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study post-public employment offences involving former public officials after leaving office, either temporarily or permanently, used their former office, expertise, inside knowledge, undue influence or close connections with current public officials for their private interests or the private interests of others unlawfully, violating ethics rules and the principles of integrity and impartiality of public official and good governance, as well as undermining public trust in the public service. This study examines the laws concerning post-public employment offences in Thailand, making comparisons between the Thai and Foreign laws to determine whether it is necessary to amend the relevant laws in Thailand to make them more effective and enforceable. It was found that although Thailand has had the laws in place concerning post-public employment offences since 2007, the existing laws are uncover and incomplete to prevent and counter the problem of post-public employment offences when compared to overseas. This thesis, therefore, suggests ways to develop and improve laws by amending the Thai laws to cover the actions of post-public employment offences and the scope of former public official as well as creating the preventive measures so that the laws concerning post-public employment offences will be more appropriate and comprehensive to which such offences occur. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.780 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความผิดทางอาญา | |
dc.subject | อาชีพ | |
dc.subject | Mistake (Criminal law) | |
dc.subject | Occupations | |
dc.title | ความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนข้อห้ามการประกอบอาชีพภายหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในภาครัฐ | en_US |
dc.title.alternative | POST-PUBLIC EMPLOYMENT OFFENCES | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | kanaphon.c@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.780 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5386082334.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.