Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์en_US
dc.contributor.advisorไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติen_US
dc.contributor.authorพัชร วิสุทธิแพทย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:14Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:14Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43333
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractอินเทอร์เน็ตทีวี (Internet TV) เป็นบริการการเผยแพร่รายการในลักษณะเดียวกันกับรายการโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากล เป็นสื่อใหม่ (new media) ที่เกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยี (convergence) ระหว่างโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต ลักษณะดังกล่าวทำให้อินเทอร์เน็ตทีวีเป็นสื่อสารมวลชนที่มีความสามารถในการให้บริการได้อย่างไร้พรมแดนและเป็นสื่อมีมีต้นทุนในการผลิตต่ำเช่นเดียวกับเนื้อหาอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ด้วยเหตุดังกล่าวการนำมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ที่มีอยู่มาปรับใช้กับผู้ประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตทีวีจึงอาจมีอุปสรรคทางด้านเขตอำนาจของกฎหมายและศาล (jurisdiction) ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่กำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทยจึงยังไม่มีมาตรทางกฎหมายในการกำกับดูแลการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมของผู้ประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตทีวีแต่อย่างใด กรณีดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบตามมาคือความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์และผู้ประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตทีวีและการที่ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่า ในต่างประเทศยังไม่มีแนวทางในการกำกับดูแลที่เป็นสากล แต่สำหรับประเทศไทยสามารถมีมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมของผู้ประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตทีวีได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจรัฐในการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ นักวิชาการของไทยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์เดิมที่นำรายการมาเผยแพร่ออนไลน์ด้วยการปรับใช้มาตรการกำกับดูแลการเผยแพร่เนื้อหาของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการกำกับดูแลออกเป็นสองส่วน ได้แก่ กรณีของผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในราชอาณาจักรควรกำกับดูแลด้วยการปรับใช้มาตรการการกำกับดูแลการเผยแพร่เนื้อหาของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ส่วนกรณีของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักรควรกำกับดูแลด้วยระบบการกำกับดูแลร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน ด้วยการใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร มาตรการทางเทคนิคและองค์กรวิชาชีพประกอบกัน เพื่อการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeInternet TV is a programme distributing service on the same way as TV programme via internet network. It is new media originated from the convergence of television and internet technologies. This character makes Internet TV a borderless service capability media with low production cost as well as other internet contents. As a result, applying the current legislative measures in monitoring television to be used with Internet TV operators might be inappropriate because of the legislative jurisdiction obstacles. Moreover Thailand has no legislation to monitor internet content, Thailand thus has no measurement in monitoring inappropriate content distribution of Internet TV operators. It causes some inequality between television broadcasters and internet TV operators as well as the lack of consumer protection from inappropriate contents. Study found that there’s no international monitoring method. In Thailand legislative measure to monitor inappropriate contents can be done since the constitution law has opened for the state to enact the law to protect the people. Most academics view that it should be done by regulate the old television broadcasters who have on-lined their programmes by the current legislative measures in monitoring television. This thesis has suggested that there should be the separation of Internet TV regulation - 1. The circumstance that the provider is in the kingdom, there should be regulated by enforcing television broadcasters control measures, 2. The circumstance that provider is outside the kingdom should be regulated by self – regulation measures together with the use of Lex Electronica.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.781-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต
dc.subjectการตลาดอินเทอร์เน็ต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subjectInternet literacy
dc.subjectInternet marketing -- Law and legislation
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลผู้ประกอบการ Internet TV : ศึกษากรณีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมen_US
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES FOR REGULATING INTERNET TV PROVIDER : A CASE STUDY OF INAPPROPRIATE CONTENTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoreathipol@gmail.comen_US
dc.email.advisorpaiboon@magnuspartners.com
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.781-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386086934.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.