Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43360
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์en_US
dc.contributor.authorกานดา วรคุณพิเศษen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:31Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:31Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43360
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อภาวะเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะสมองเสื่อม ที่มารับบริการในคลินิกสมองเสื่อม สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ ระยะเวลาการดูแลในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า และนำมาหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินภาวะเครียดในผู้ดูแล และหาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มการทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้ามีภาวะเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้ามีภาวะเครียดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of home environment arrangement and progressive muscle relaxation program on stress in caregiver of older people with dementia. The participants consisted of 40 caregivers of older people with dementia at Prasat Neurological Institute and were divided into the experimental and the control groups with 20 people in each group. Both groups had similar in gender, age and length of time in caring. The experimental group receiving the home environment arrangement and progressive muscle relaxation program and the control group received conventional nursing care. The experimental instrument was home environment arrangement and progressive muscle relaxation program and tested for content validity. The instrument for collect data was Caregiver Strain Index (CSI) and was test for reliability with cronbach alpha of .81. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. The major findings were as follows: 1. The experimental group after receiving the home environment arrangement and progressive muscle relaxation program had significantly lower stress than before receiving the program at the level of .05 2. The experimental group after receiving the home environment arrangement and progressive muscle relaxation program had significantly lower stress than those who received conventional nursing care at the level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.796-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อม
dc.subjectผู้ดูแล
dc.subjectการผ่อนคลาย -- เทคนิค
dc.subjectEnvironmental management
dc.subjectCaregivers
dc.subjectRelaxation -- Technique
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อภาวะเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF HOME ENVIRONMENTAL ARRANGEMENT AND PROGRESSIVE MUSCLE RELAXATION PROGRAM ON STRESS IN CAREGIVERS OF OLDER PEOPLE WITH DEMENTIAen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsisasat@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.796-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477154536.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.