Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43362
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาต่ออาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: THE EFFECT OF SELF MANAGEMENT PROGRAM WITH HARMONICA BREATHING EXERCISE ON DYSPNEA OF OLDER PERSONS WITH CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE
Authors: ชลภูมิ รุ่งรจนา
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: tassana.c@chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
ผู้สูงอายุ -- โรค
การหายใจลำบาก
Older people -- Conduct of life
Older people -- Diseases
Dyspnea
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาและเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกา กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก และหรือ แผนกคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวนทั้งหมด 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกา เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกา และแบบวัดระดับอาการหายใจลำบาก โดยผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Paired t-test และ independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยระดับอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p
Other Abstract: The purposes of this quasi – experimental research were to compare dyspnea of older persons with COPD among the experimental group before – after receiving the self management program with harmonica breathing exercise , and to compare dyspnea of older persons with COPD between the experimental group and control group. The sample were 40 men and women aged 60 years and over with COPD attending OPD clinic and/or COPD clinic at SomdechPhrapinklao hospital. They were random classified into 2 groups : 20 each in experimental group. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the self management program with harmonica breathing exercise fore five weeks. Instruments of this study were the self management program with harmonica breathing exercise and dyspnea modified borg’s scale. The instruments were approved the content validity by 5 experts. Data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1. The mean score of dyspnea symptom of older persons with COPD after receiving the program was significantly lower than before receiving the program at .05. 2. The mean score of dyspnea symptom of older persons with COPD cases in the experimental group was significantly lower than the control group at .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43362
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.829
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.829
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477159736.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.