Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43370
Title: | ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ |
Other Titles: | THE EFFECTS OF EDUCATIVE SUPPORTIVE NURSING PROGRAM ON DIETARY BEHAVIOR AMONG PATIENTS AFTER PERCUTANEOUS TRANSLUMINAL CORONARY INTERVENTION |
Authors: | ปาริชาติ คงเสือ |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | noralukuakit@yahoo.com pachanut.t@chula.ac.th |
Subjects: | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค บริโภคกรรม Coronary heart disease |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจหลังขยายหลอดเลือดหัวใจก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหลังขยายหลอดเลือดหัวใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังการทดลอง โดยใช้โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองและตอบสนองความต้องการในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ โดยเชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีขึ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่ได้กำหนด จับคู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ด้านการศึกษาและอายุจากนั้นแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 22 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติเก็บข้อมูลทั้งหมด 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์ ใช้เวลาครั้งละ 30-45 นาที เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาคเท่ากันคือ .7 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่า ที ผลการวิจัย 1. คะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2. คะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ หลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้สามารถเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองและเพิ่มคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจได้ |
Other Abstract: | This qua-si experimental research study aimed to compare dietary behavior in patients undergoing percutaneous intervention between the group receiving educative supportive nursing program (experimental group) and the group receiving usual care (control group).Participants were recruited from a cardiac out-patient unit, Bang Nam Prieo Hospital, Chachoengsao Province. Each group was composed of 22 cardiac participants undergoing percutaneous transluminal coronary intervention. The control group received usual care with a 4-time data collection with 2 weeks apart (30-45 minutes/visit). Questionnaires were composed of demographic information, a Thai version of Heart Healthy Eating questionaire, and the Appraisal of self-care agency (ASA). The alpha were 0.70 equally. Descriptive analysis composed of percentages, mean, and standard deviation. Inferential analysis including the student t-test was used to analyze data. The results revealed that 1. After participating in the educative supportive nursing program, the mean score of dietary behavior among patients after percutaneous transluminal coronary intervention was significantly higher than that before participating in the program (p< .05). 2. After receiving the educative supportive nursing program, the mean score of dietary behavior among patients after percutaneous transluminal coronary intervention, was significantly higher than that of patients receiving usual care (p< .05). This research finding indicated that the educative supportive nursing program given could increase self-care ability and the dietary behavioral score in patients undergoing percutaneous transluminal coronary intervention. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43370 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.827 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.827 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477176336.pdf | 5.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.