Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43376
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองหลังผ่าตัด
Other Titles: SELECTED FACTORS ASSOCIATED WITH HEALTH RELATED QUALITY OF LIFE IN AORTIC ANEURYSM PATIENTS AFTER SURGERY
Authors: ศิริพร ศรีสมัย
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
รุ้งระวี นาวีเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: noralukuakit@yahoo.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลอดเลือดแดง -- โรค -- ผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพ
คุณภาพชีวิต
Arteries -- Diseases -- Patients
Health promotion
Quality of life
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองหลังผ่าตัด และหาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม อายุ ระยะเวลาหลังผ่าตัด ชนิดของโรคและชนิดของการผ่าตัด การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วย ความร่วมมือในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามคำแนะนำของทีมสุขภาพ และสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองหลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาในช่องอก และ/หรือ ในช่องท้องโป่งพอง ที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิด และ/หรือ แบบสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านทางสายสวน ภายในระยะเวลา 1 เดือน - 1 ปี ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วย ความร่วมมือในการปกิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามคำแนะนำของทีมสุขภาพ สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ วิเคราะห์ผลการวิจัย โดยใช้สถิติบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพัยร์สัน ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ( = 62.09, SD = 18.30) การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามคำแนะนำของทีมสุขภาพอยู่ในระดับสูง ( = 47.62, SD = 4.01 และ = 10.88, SD = 1.01) สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง 2. การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วยด้านอาการที่เกี่ยวข้องกับโรค พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้อาการปวดขาในขณะเดินมากที่สุด (ร้อยละ 49.7) การรับความรู้สึกที่ขาลดลง/รู้สึกชา (ร้อยละ 37.8) และเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย (ร้อยละ 37.8) ด้านสาเหตุการเกิดโรคพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าเกิดจากการปฏิบัติของตนมากที่สุด ( = 3.73, SD = 0.84) ส่วนด้านช่วงเวลาของการเป็นโรค ด้านผลกระทบจากโรค และด้านการรักษาหรือการควบคุมอาการของโรค พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาวะความเจ็บป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 3. อายุ การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วยด้านอาการที่เกี่ยวข้องกับโรค และด้านสาเหตุการเกิดโรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.168, -.489 และ -.266 ตามลำดับ) การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วยด้านการรักษาหรือการควบคุมอาการของโรค และสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .216, .391 และ .174 ตามลำดับ) นอกจากนี้ชนิดของโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพอง ชนิดของการผ่าตัด ระยะเวลาหลังผ่าตัด การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วยด้านช่วงเวลาของการเป็นโรค ด้านผลกระทบจากโรค และความร่วมมือในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามคำแนะนำของทีมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองหลังผ่าตัด
Other Abstract: The purposes of this correlational research were to examine the health related quality of life in patients with aortic aneurysm after surgery and to investigate the relationships of social support, age, duration after surgery, types of aneurysm and surgery, illness representations, adherence to health behavior advised by the health care teams, and self-efficacy toward health behavioral practice, and health related quality of life in patients with aortic aneurysm after surgery. One hundred and forty-three post-operative patients with various types of aortic aneurysm surgery from 1 month to 1 year were recruited from tertiary care hospitals, all the countries. Questionnaires composed of demographic information, social support, illness representations, adherence to health behavioral practice, self-efficacy to health behavioral practice, and health related quality of life. Descriptive statistics, point biserial correlation coefficients and pearson’ s product moment correlation coefficients analyses were used to analyze data. The results showed as the followings: 1. The score of health related quality of life of patients with aortic aneurysm after surgery was good ( = 62.09, SD = 18.30). The score of social support and adherence to health behavioral practice was at a high level ( = 47.62, SD = 4.01 and = 10.88, SD = 1.01). Self-efficacy to health behavioral practice was at a medium level ( = 27.23, SD = 4.17). 2. In terms of symptoms of illness representations, patients reported claudication at most (49.7%), sensory loss at legs (37.8%), and anorexia and exhaustion (37.8%). They reported the cause of aortic aneurysm came from patient behavioral practice at most ( = 3.73, SD = 0.84). In terms of timeline, consequences, and curing/symptom controllability perception, the patients have represented accordingly and correctly. 3. Age and perceiving symptoms and cause were negatively related to health related quality of life at the level of .05 (r = -.168, -.489 and -.266, respectively). Social support, illness representation of treatment or disease control, and self-efficacy in health behavioral practice were positively related to health related quality of life in patients with aortic aneurysm after surgery at the level of .05 (r = .216, .391 and .174, respectively). However, types of aortic aneurysm, types of surgery, duration after surgery, perceiving of timeline and consequences, and adherence of health behavioral practice were not related to health related quality of life in patients with aortic aneurysm after surgery.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43376
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.844
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.844
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477191736.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.