Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43406
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศนันท์กรณ์ โสติพันธุ์en_US
dc.contributor.authorกฤดิทัต ฉายไสวen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:54Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:54Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43406
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการสมรสแม้จะมีขึ้นตามครรลองของธรรมชาติ แต่กฎหมายก็ได้กำหนดเงื่อนไขแห่งการสมรสไว้ เนื่องจากครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่กฎหมายต้องให้การคุ้มครอง ซึ่งการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ โมฆียะ หรือมีผลตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวเฉพาะกรณีหญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้หญิงทำการสมรสใหม่ภายในระยะเวลา 310 วันนับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุดลง เว้นแต่เข้ากรณียกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขแห่งการสมรสในลักษณะดังกล่าวถือเป็นการจำกัดสิทธิในการสมรสของหญิง และไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน นอกจากนั้นหากมีการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น กฎหมายยังได้กำหนดให้สันนิษฐานว่าเด็กที่เกิดในช่วงเวลานั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีใหม่ ซึ่งนับเป็นการก่อให้เกิดภาระแก่ชายผู้ถูกสันนิษฐานมากเกินสมควร ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ แนวความคิด และปัญหาของเงื่อนไขแห่งการสมรสของกฎหมายไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของอังกฤษ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอินเดีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเทศต่างๆ ไม่มีหรือต่างก็ได้ได้ยกเลิกเงื่อนไขที่ห้ามมิให้หญิงที่การสมรสเดิมสิ้นสุดลงทำการสมรสใหม่ เว้นแต่สาธารณรัฐอินโดนีเซียซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการสมรสเป็นตามหลักกฎหมายอิสลามที่กำหนดให้ต้องมีระยะเวลาพักรอ แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะพบว่ามีระยะเวลาน้อยกว่าที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย กับประเทศญี่ปุ่นที่แม้จะยังคงมีเงื่อนไขห้ามมิให้หญิงที่การสมรสเดิมสิ้นสุดลงทำการสมรสใหม่ก่อนพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุด ซึ่งแม้เป็นระยะเวลาที่น้อยกว่าที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย แต่ในญี่ปุ่นก็ได้มีความพยายามที่จะยกเลิกหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นได้กำหนดให้การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้สามารถเพิกถอนได้ และมิให้ใช้บทสันนิษฐานความเป็นบิดาแก่เด็กที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้ด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการ ยกเลิกมาตรา 1453 ที่ห้ามมิให้หญิงทำการสมรสใหม่ภายในระยะเวลา 310 วัน และแก้ไขบทสันนิษฐานความเป็นบิดาในมาตรา 1537 โดยมิให้ใช้บทสันนิษฐานความเป็นบิดาในกรณีที่มารดาทำการสมรสใหม่และเด็กเกิดภายใน 310 วันนับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุดลง หรือการสมรสนั้นเป็นโมฆะและศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะen_US
dc.description.abstractalternativeThough the marriage occurs by the mean of nature, the law determines condition of marriage because family is social institute which must be protected by the law. Marriage which breaches condition of marriage shall become void, voidable, or effected by the law. In case of woman whose husband died or marriage ends by the other means, the law prevents her to remarry in 310 days after the former marriage has ended except some allowed case. That condition of remarriage can be counted as limited of right to marriage of women and it is not match with society nowadays. Furthermore, if there is the marriage in breach of condition, the law shall assume that the children born among that time to be rightful child of the new husband who has been given too much burden more than deserve. This study emphasizes in historical backgrounds, principles and problems on condition of marriage in Thai law by compare with British law, Law of Republic of Singapore, Law of Republic of India, Federal law of Federal Republic of Germany, Law of the Fifth Republic of France, Japanese law and Law of Republic of Indonesia. From the study, we found that most of the countries have repealed condition of remarriage except Indonesia which her Islamic law rules waiting period before remarriage but when that period is shorter than Civil and Commercial code of Thailand. In Japanese law, there remains condition of remarriage which prevents remarriage before 6 months after the termination of former marriage. Although this period in Japanese law is shorter than in Civil and Commercial code of Thailand, there are efforts to cancel or revise this condition. So the Civil code of Japan rules that marriage which breaches this condition may be annulled and shall not use presumption of fatherhood with child who is born from the annulled marriage. In consequence, we suggest solution for those problems mentioned above by repeal article 1453 of Civil and Commercial Code of Thailand which prohibit remarriage of women in 310 days and revise the presumption of fatherhood in article 1537 by exception of presumption of fatherhood in case of the mother remarry and children is born in 310 days after termination of former marriage, or the marriage is void and the court rules the void of that marriage.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.873-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subjectครอบครัว
dc.subjectMarriage -- Law and legislation
dc.subjectDomestic relations
dc.titleปัญหาเงื่อนไขแห่งการสมรส : ศึกษากรณีหญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นen_US
dc.title.alternativeTHE PROBLEMS OF CONDITIONS OF MARRIAGE : THE CASE STUDY OF WOMAN WHOSE HUSBAND DIED OR MARRIAGE ENDED BY THE OTHER MEANSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorajarnkorn@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.873-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486000034.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.