Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43410
Title: | การทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท |
Other Titles: | DAMAGE TO PROPERTY BY RECKLESSNESS OR NEGLIGENCE |
Authors: | มนัสนันท์ มากบัว |
Advisors: | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | pareena.lawchula@gmail.com |
Subjects: | ความผิดทางอาญา ความประมาททางอาญา Mistake (Criminal law) Negligence, Criminal |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ตามหลักกฎหมายอาญาบุคคลจักต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา การกระทำโดยประมาทเป็นเพียงข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้กระทำต้องรับผิดและลงโทษเฉพาะกรณีที่การเยียวยาทางแพ่งเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอ การทำให้เสียทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายอาญามิได้บัญญัติให้ผู้กระทำต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยประมาท ดังนั้นตามกฎหมายไทยปัจจุบันผู้กระทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญา อย่างไรก็ตามพบว่าการทำให้เสียทรัพย์ในหลายกรณีผู้กระทำคาดหมายได้อยู่แล้วว่าการกระทำของตนอาจก่อให้เกิดภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น แต่ผู้กระทำยังรับเอาความเสี่ยงภัยที่จะกระทำต่อไปอันแสดงให้เห็นถึงความจงใจของผู้กระทำ เช่น การขับรถในขณะเมาสุราหรือขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นเมื่อมีผลร้ายเกิดขึ้นผู้กระทำจึงสมควรได้รับโทษทางอาญาจากการกระทำโดยประมาทนั้น จากการศึกษาและค้นคว้าเปรียบเทียบกฎหมายและมาตรการทางทางอาญาเกี่ยวกับการทำให้เสียทรัพย์ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมันและประเทศฝรั่งเศส การจะบัญญัติความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทในประเทศไทยให้สอดคล้องกับหลักความรับผิดในทางอาญาของไทยทำได้โดยใช้ ประเภทของทรัพย์ที่มีความสำคัญเป็นเกณฑ์ในการกำหนดความผิด เนื่องจากความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญานั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามที่กฎหมายคุ้มครอง ได้แก่ (1) การทำให้เสียทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งทรัพย์ตามมาตรา 358 และมาตรา 359 เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองผู้เสียหายซึ่งเป็นเอกชนโดยแท้และผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้มีการเยียวยาในทางแพ่งได้ ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่าการเยียวยาในทางแพ่งเพียงพอแก่ความผิดแล้วจึงไม่สมควรบัญญัติให้ผู้กระทำให้เสียทรัพย์ดังกล่าวต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท (2) การทำให้เสียทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความแก่กันได้ ได้แก่ กรณีกระทำต่อทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ (มาตรา 360) และ ทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุในทางศาสนาและประดิษฐ์สถานอยู่ในสถานที่สำคัญทางศาสนา (มาตรา 360 ทวิ) รวมถึงทรัพย์อื่นๆที่มีความสำคัญ เช่น ทรัพย์ซึ่งเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ประติมากรรมที่อนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ, ทรัพย์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหรือวัตถุที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดหรือที่ได้รับมาเป็นสมบัติของชาติ, ทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุทางวิทยาศาสตร์ที่รัฐเก็บรักษาหรือจัดแสดงไว้, ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสื่อสาร การคมนาคม พลังงาน การอุปโภค หรือบริการสาธารณะ การกระทำต่อทรัพย์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสังคมยิ่งกว่าเอกชน จึงสมควรบัญญัติให้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา |
Other Abstract: | A person shall be criminally liable only when such person commits an act intentionally. Negligently is an exception in cases provided by the law that a person must be liable, also the compensation are inadequate. For the criminal damage, the Criminal code does not provide that a person who acts negligently causing such damage must be liable for it, despite many cases occurring in present where a person causes damage to property by recklessness. For instance, drunk driving or driving over the speed limit, the driver does not desire harmful consequence but foresees the possibility and consciously takes the risk. Therefore, the offender should be punishment. According to comparatively study and analysis of the laws relating to the property damage of the United Kingdom, the United State of America, the Federal Republic of Germany, and the French Republic, the purpose of criminal damage law is to protect the ownership and the victims can also claim civil remedy. Consequently, a person who acts recklessly or negligently causing damage to property according to section 358 and section 359 of the Criminal Code should not be liable for criminal penalty. However, property damages to some properties affects to public society than private individual which should be provided as a criminal offense is damage property according to section 360 and section 360 bis of the Criminal Code. Also, the destroy or damage to property which is an ancient, antique, art work, sculpture as part of a historical culture or national treasure, a piece of property or objects preserved in museums or library or has been a national treasure, the object of scientific which are kept in public collection or publicity exhibited, whole or in a part of communications system, transportation, energy system, consumption or public services. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43410 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.876 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.876 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486019034.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.