Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43448
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ | en_US |
dc.contributor.author | บุปผรัตน์ ธนะปัทม์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:38:25Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:38:25Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43448 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ธนาคารโลกจัดให้ประเทศไทยง่ายต่อการทำธุรกิจเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับกระแสของการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่จะเปิดเสรีด้านการลงทุนจะส่งผลให้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติได้มีความเข้าใจในการทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยของ บริษัท โคโตบูกิ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และบริษัท ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) และศึกษาปัญหา และอุปสรรค ในการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสนอแนะแนวทางอย่างถูกต้องให้กับบริษัทที่ยังอาจขาดความรู้และความเข้าใจให้ดำเนินการด้วยวิธีการและขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่าขั้นตอนในการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทสิงคโปร์ในประเทศไทยมีหลักการในการดำเนินการที่เหมือนกันทั้งหมด 11 ขั้นตอน แต่แตกต่างกันในรายละเอียดด้านแนวนโยบายในการพัฒนาโครงการ โดยแบ่งได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 ก่อนการตัดสินใจลงทุน คือ ขั้นตอนที่ 1-3 ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ 2) เข้าร่วมเป็นสมาชิกในหอการค้าของประเทศตนเอง 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพราะสามารถพยากรณ์ได้ว่าเงื่อนไขใดที่จะทำให้บริษัทต่างชาติตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ช่วงที่ 2 ตัดสินใจลงทุนและประกอบกิจการ คือ ขั้นตอนที่ 4-11 ดังนี้ 4) ตัดสินใจลงทุนจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในด้านผลตอบแทนทางการเงินที่ได้รับคุ้มค่า 5) ร่วมทุนไทย 6) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ทุนจดทะเบียนถือโดย ต่างด้าวร้อยละ 49 ไทย ร้อยละ 51 7) ดำเนินการประกอบธุรกิจ มีให้เลือก 2 แนวทางดังนี้ 7.1) ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 7.2) ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 8) จัดหาและซื้อที่ดิน 9) การวางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ 10) ติดต่อสำนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อขอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 97 และ 98 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเนื่องจากมีการสอบสวนเพิ่มเติมในกรณีรับโอนที่ดินของบริษัทต่างชาติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 11) การตลาด เพื่อการขาย โดยพบว่ามีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 6,7, 9 และ 10 ที่เป็นขั้นตอนด้านการพิจาณาข้อกฎหมายเป็นสำคัญ และในขั้นตอนที่ 10 เป็นขั้นตอนที่พบปัญหาและอุปสรรคมากที่สุด เกี่ยวกับ การรวบรวมเอกสารที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับการโอนที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องต่อภาครัฐว่าเนื่องจากในปี 2558 จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้น ภาครัฐควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ให้คำแนะนำด้านข้อมูลการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติ หรือการจัดพิมพ์คู่มือเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามกฎหมายในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The World Bank has ranked Thailand as the second easiest place for doing business among Southeast Asian countries in terms of less bureaucratic system and friendly investment style. Together with the AEC, which will be implemented in 2015, this could influence some foreign companies to invest more in Thailand. In order to educate and make foreign investors have a more correct understanding about how to do business legally, the purpose of this research is to study the real estate investment process of KOTOBUKI PROPERTY COMPANY LIMITED and LAGUNA RESORTS & HOTEL PUBLIC COMPANY LIMITED as well as to study the troubles and obstacles of real estate investments. This is to give the right direction and suggestions to those who still lack legal knowledge and understanding of real estate investment in Thailand. From the sample study, the process of real estate investment of Japanese Companies and Singaporean Companies invested in Thailand consists of 11 steps. However, the difference is in the details of its policies for project development. This can be divided into 2 periods as follows: The first period is before the investment decision which is in steps 1-3, 1.) conducting research of the economics and the government’s investment policies, 2.) being the member of the Chamber of Commerce in their own countries, 3.) researching and surveying the actual environment and doing a feasibility study of the project which is the most important step of investment decision making. The second period is investment decision making and doing business which is in steps 4-11:, 4.) making investment decisions based on best returns, 5.) seeking Thai investors to join the project, 6.) registering companies with 49% of foreigners and 51% Thais, 7.) start doing business in 2 options; requesting or not requesting investment assurance from the BOI in order to get some benefits, as specified in section 27 in the Investment Promotion Act, 8.) arranging and buying land, 9.) planning and designing products, 10.) contacting the Department of Lands to ask for land title as section 97 and 98 of Land Code which is the most important process to be done, and 11.) Marketing for sales. The five most important steps are 6,7,9, and 10. Those are related to legal issues. Step 10 is the most troublesome obstacle in gathering all concerning documents needed to be extra considered for conveyance in order to serve the real estate business. The above research gives the Government suggestions that the direct center office is obligated to provide some real estate investment information, or the guide book to foreign companies to enhance legal business aspects as the AEC is coming in 2015. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.913 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อสังหาริมทรัพย์ | |
dc.subject | การส่งเสริมการลงทุน | |
dc.subject | บรรษัทข้ามชาติ | |
dc.subject | Real property | |
dc.subject | Investment promotion | |
dc.subject | International business enterprises | |
dc.title | ขั้นตอนในการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทสิงคโปร์ในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท โคโตบูกิ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และ บริษัท ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) | en_US |
dc.title.alternative | REAL ESTATE INVESTMENT PROCESS IN THAILAND FOR JAPANESE AND SINGAPOREAN COMPANY: CASE STUDIES OF KOTOBUKI PROPERTY COMPANY LIMITED AND LAGUNA RESORTS & HOTELS PUBLIC COMPANY LIMITED. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | trirat.j@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.913 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573557125.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.