Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43482
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลรวมออสทีโอแคลซินและภาวะการดื้อต่ออินซูลินระหว่างการตั้งครรภ์ในประชากรไทย โดยใช้ค่าดัชนีชี้วัดภาวะดื้ออินซูลิน
Other Titles: ASSOCIATION BETWEEN TOTAL OSTEOCALCIN AND INSULIN RESISTANCE DURING PREGNANCY IN THAI POPULATION BY USING HOMEOSTASIS MODEL OF ASSESSMENT-INSULIN RESISTANCE (HOMA-IR)
Authors: ปนัดดา ศรีจอมขวัญ
Advisors: วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: wkhovid@gmail.com
Subjects: เบาหวาน
การวินิจฉัยโรคก่อนคลอด
Diabetes
Prenatal diagnosis
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลรวมออสทีโอแคลซิน และ ภาวะดื้อต่ออินซูลินระหว่างการตั้งครรภ์ในประชากรไทยโดยใช้ค่าดัชนีชี้วัดภาวะดื้ออินซูลิน ที่มา :Osteocalcin เป็นโปรตีนที่ถูกสร้างจากกระดูก จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า osteocalcin ทำงานเปรียบเหมือนฮอร์โมน โดยเฉพาะ undercarboxylated osteocalcin สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อนและทำให้มีภาวะดื้ออินซูลินลดลง ผลการศึกษาในมนุษย์พบว่ากลุ่มที่มีระดับ osteocalcin ต่ำ จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีโอกาสเกิดเบาหวานมากกว่ากลุ่มที่มีระดับ osteocalcin ที่สูงกว่า ภาวะการตั้งครรภ์เป็นตัวอย่างที่ดีของการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างระดับ total osteocalcin และภาวะดื้ออินซูลินระหว่างการตั้งครรภ์ วิธีการศึกษา: หญิงมีครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 50 กรัมที่ 1 ชั่วโมง มากกว่า 140 มก./ดล.) จำนวน 138 คน แบ่งเป็นคนที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ 78 คน ไม่เป็นเบาหวาน 60 คน มีการเก็บเลือดเพิ่มเติมเพื่อตรวจวัดระดับ total osteocalcin, undercarboxylated osteocalcin, น้ำตาล ไขมัน และอินซูลิน เพื่อนำมาคำนวณหาภาวะดื้ออินซูลินด้วยวิธี HOMA และ QUICKI ผลการศึกษา: ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์มีภาวะดื้ออินซูลินเมื่อคำนวณด้วยวิธี HOMA มากกว่ากลุ่มผู้หญิงที่ไม่มีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ระดับ total osteocalcin และundercarboxylated osteocalcin มีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินเมื่อคำนวณด้วยวิธี HOMA อย่างมีนัยสำคัญ (ระดับ total osteocalcin: R = 0.234; P = 0.006 และ ระดับ undercarboxylated osteocalcin: R = 0.295; P <0.001) ระดับ total osteocalcin และundercarboxylated osteocalcin ในผู้หญิงที่เป็นเบาหวาน และ ผู้หญิงที่ไม่มีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ได้มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับ total osteocalcin 13.26 +/- 6.69 เทียบกับ 12.18 +/- 5.92 นาโนกรัม/มิลลิลิตร P = 0.32 และ ระดับ undercarboxylated osteocalcin 6.4 (3.0-9.6) เทียบกับ 4.8 (1.8-8.7) นาโนกรัม/มิลลิลิตร P = 0.15) เมื่อแบ่งผู้ป่วยตามจำนวนความผิดปกติหลังทานกลูโคส 100 กรัม พบว่าระดับ total osteocalcin และ undercarboxylated osteocalcin ในผู้หญิงที่มีความผิดปกติของน้ำตาลเพียงหนึ่งค่าไม่แตกต่างจากผู้หญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ สรุปผลการศึกษา : ระดับ total osteocalcin และ undercarboxylated osteocalcin มีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินเมื่อคำนวณด้วยวิธี HOMA อย่างมีนัยสำคัญ ระดับ total osteocalcin และ undercarboxylated osteocalcin ในผู้หญิงที่มีความผิดปกติของน้ำตาลเพียงหนึ่งค่าหลังทานกลูโคส 100 กรัม ไม่ต่างจากผู้หญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ระดับ total osteocalcin และ undercarboxylated osteocalcin เป็นตัวแปรที่ไวของภาวะดื้อต่ออินซูลิน
Other Abstract: ASSOCIATION BETWEEN OSTEOCALCIN AND INSULIN RESISTANCE INDEX DURING PREGNANCY IN THAI SUBJECTS Background: Osteocalcin (OC) is an osteoblast-derived protein which locally acts on the bone. Recent studies in animals have suggested that OC may also act as a hormone. An undercarboxylated form of OC (ucOC) has been shown to stimulate beta cell proliferation and increase insulin sensitivity in animals. In humans, both total OC and ucOC have been reported to be decreased in patients with type 2 diabetes and have negative correlation with insulin resistance indices. Pregnancy is a physiological state of insulin resistance and gestational diabetes mellitus (GDM) can serve as a model of insulin resistance during pregnancy. The aim of this study was to investigate an association between OC and insulin resistance indices during pregnancy. Research Design and Method: We measured serum levels of OC, ucOC, glucose, lipid, and insulin and assessed insulin resistance indices using homeostasis model assessment (HOMA-1IR and HOMA-2IR) among 138 pregnant women who had positive glucose challenge test, 78 of whom had GDM. Samples were obtained during an oral glucose tolerance test (OGTT). Results: Although women with GDM had higher indices of insulin resistance than those without GDM, serum total OC and ucOC levels were not significantly different between women with GDM and those without GDM (total OC: 13.26 +/- 6.69 vs. 12.18 +/- 5.92 ng/ml; P = 0.32 and ucOC: 6.4 (3.0-9.6) VS 4.8 (1.8-8.7) ng/ml; P = 0.15 respectively). Both serum total OC and serum ucOC showed significant positive correlations with HOMA-1IR (total OC: R = 0.234; P = 0.006 and ucOC: R = 0.295; P <0.001). Serum levels of OC and ucOC in women who had only one abnormal value of glucose during an OGTT were not significantly different from those in women with GDM. Conclusion: Serum levels of total OC and ucOC were not different between GDM and non GDM women. In addition, serum levels of total OC and ucOC in women who had one abnormal value during an OGTT were not significantly different from those in women with GDM, suggesting that OC may be a sensitive marker of insulin resistance during pregnancy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43482
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.947
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.947
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574140230.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.