Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43488
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของเลเซอร์เออร์เบียมชนิด แบ่งส่วนในการรักษา โรคผมร่วงเป็นหย่อม
Other Titles: THE EFFICACY OF FRACTIONAL ERBIUM-GLASS LASER IN TREATING ALOPECIA AREATA, A RANDOMIZED CONTROLLED TRIAL
Authors: ปิยาภัค ซีโฮ่
Advisors: ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร
รัชต์ธร ปัญจประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: pawineererk@yahoo.co.th
nim_bonus@hotmail.com
Subjects: ผมร่วง
แสงเลเซอร์ทางการแพทย์
Baldness
Lasers in medicine
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคผมร่วงเป็นหย่อม ในปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจาก การมีภูมิต้านเนื่อเยื่อของตนเองบริเวณต่อมขน ตัวเลือกใน การรักษาผู้ป่วยยังเป็นประเด็นที่ท้าทายในปัจจุบัน เคยมีการรายงานผู้ป่วย 1 รายว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาด้วย เลเซอร์เออร์เบียมชนิดแบ่งส่วน โดยพบมีการงอกใหม่ของผมอย่างสมบูรณ์หลังได้รับการรักษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเลเซอร์เออร์เบียมชนิดแบ่งส่วนที่มีขนาดความยาวคลื่น 1550 นาโนเมตร ในการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมชนิด patch วิธีการศีกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม หย่อมผมร่วงแต่ละคู่ซึ่งอยู่ในผู้ป่วยคนเดียวกัน จะได้ รับการสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งทำการศึกษาด้วย เลเซอร์ และ กลุ่มควบคุม คือไม่ได้รับการรักษาใดๆ โดยกลุ่ม ทดลองจะได้ รับการรักษาด้วยเลเซอร์เออร์เบียมชนิดแบ่งส่วน ความยาวคลื่น 1550 นาโนเมตร ขนาด 30 มิลลิจูล ความหนาแน่น 300 จุด ต่อตารางเซ็นติเมตร ครั้งละ 2 รอบ ความห่าง 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ทั้งหมด 12 ครั้ง รวมระยะเวลา ทั้งหมด 6 เดือน โดยประเมินผลจากขนาดหย่อมผมร่วงตาม Alopecia areata investigational assessment guideline และนำมาคำนวณหา ขนาดการงอกใหม่ของหย่อม ผมร่วง ที่สิ้นสุดการศึกษา คือ ที่ 6 เดือน และประเมินความแตกต่าง ของระยะเวลาการเริ่มงอก และการงอกอย่างสมบูรณ์ ของหย่อมผมร่วง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รวมทั้ง มีการบันทึกผล ข้างเคียงต่างๆ ที่พบหลังจากให้การรักษาด้วยเลเซอร์ ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีผมร่วงเป็นหย่อมชนิด patch 12 ราย ประกอบไปด้วยหย่อมผมร่วงที่ศึกษา 28 คู่ ค่ามัธยฐานของการงอกใหม่ของผมในกลุ่มที่ให้การรักษาด้วยเลเซอร์มีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า เท่ากับร้อยละ 80.12 ในกลุ่มที่รักษาด้วยเลเซอร์ และ ร้อยละ 74.32 ในกลุ่มควบคุม ( P = 0.022 ) กลุ่มที่รักษาด้วยเลเซอร์ และกลุ่มทดลองมีการงอกใหม่ของผม 25 หย่อม และ 22 หย่อมตามลำดับ โดยในกลุ่มที่มีการงอกใหม่มีค่าเฉลี่ยของ ระยะเวลาที่เริ่มมีการงอกใหม่ของผมหลังเริ่มทำการศึกษา เท่ากับ 8.6 สัปดาห์ และ 9.9 สัปดาห์ตามลำดับ (P = 0.26) พบการงอกใหม่อย่างสมบูรณ์หลังเริ่มทำการศึกษา 13 หย่อมในกลุ่มที่รักษาด้วยเลเซอร์ และ 11 หย่อม ในกลุ่ม ทดลองโดยในกลุ่มที่มีการงอกใหม่อย่างสมบูรณ์ มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่มีการงอกใหม่ อย่างสมบูรณ์ของผมหลังเริ่ม ทำการศึกษา เท่ากับ 12.6 สัปดาห์ และ 14.7 สัปดาห์ตามลำดับ (P = 0.415) ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ อาการบวม, แดง, สีผิวเข้มขึ้น, ตุ่มขุมขนอักเสบ, สะเก็ด และอาการคันซึ่งล้วนแต่เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นชั่วคราวและไม่รุนแรง สรุปผลการศึกษา : เลเซอร์เออร์เบียมชนิดแบ่งส่วนความยาวคลื่น 1550 นาโนเมตร มีประสิทธิภาพในการ รักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมชนิด patch โดยผลข้างเคียงที่พบน้อยและไม่รุนแรง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาที่มี ในปัจจุบัน
Other Abstract: Background: Alopecia areata (AA) is a non-cicatricial alopecia that is postulated to be a hair-specific autoimmune disease. Treatment for the disease is still challenging in some patients. Recently, there has been a case report showing an efficacy of fractional photothermolysis as a treatment of AA. Objective : To study the efficacy of fractional erbium laser 1550 nm in treating patch type of alopecia areata Material and methods : The study is a randomized control trial. Patches of hair loss were randomized into study and control groups being compared within the same patient. The study group received fractional erbium laser 1550 nm with fluence of 30 mj, a density of 300 dots/cm2 for two passes, every two weeks for a period of 24 weeks, a total number of 12 treatments. The size of patches was measured using a method defined by alopecia areata investigational assessment guideline at the starting point (week 0) and week 24 of the study. Percentage of hair regrowth, time to initial hair regrowth and time to complete hair regrowth was calculated in both groups. The adverse events were also recorded. Result : Twelve patients with 28 pairs of alopecia patches were enrolled. The median percentage of hair regrowth in the study group was significantly higher than that of the control group, 80.12% versus 74.32% respectively (P = 0.022). There were hair regrowth in 25 patches of study group and 22 patches of control group. Mean time to initial hair regrowth and complete hair regrowth did not differ between the study group and control group, 8.6 and 9.9 weeks respectively (P = 0.26) for initial hair regrowth. There were complete hair regrowth in 13 patches of study group and 11 patches of control group. Mean time to complete hair regrowth in the study group and control group were 12.6 and 14.7 weeks respectively (P = 0.415). The side effects found in study group were swelling, erythema, hyperpigmentation, folliculitis, scale and pruritus which were mild and transient. Conclusion : Fractional erbium laser 1550 nm is effective in treating patch type of alopecia areata. Minimal side effects were found. This method is one of the alternatives treatment available nowadays.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43488
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.952
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.952
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574149030.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.